ผลการใช้แอปพลิเคชัน TikTok เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ท่ามกลางสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • สหรัฐ ลักษณะสุต หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน TikTok, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok และ 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษระหว่างผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok กับผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 81 คน จำแนกเป็น กลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok จำนวน 41 คน กลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 40 คน โดยใช้ระยะเวลา 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Samples t-test และ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในกลุ่มทดลองมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่าผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

เกศนีย์ มากช่วย (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 วันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2561. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.niets.or.th/th/content/view/18625, เข้าดูเมื่อวันที่ 15/04/2565.

World Health Organization (2021). COVID-19 Weekly Epidemiological Update, URL: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20210420_weekly_epi_update_36.pdf, accessed on 10/03/2022.

กรมควบคุมโรค (2564). มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับผู้ประกอบสถานประกอบการ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_operator/int_operator23_050164.pdf, เข้าดูเมื่อวันที่ 9/03/2565.

กระทรวงศึกษาธิการ (2564). มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://moe360.blog/2021/04/13/covid-measures, เข้าดูเมื่อวันที่ 10/03/2565.

ธนาคาร คุ้มภัย (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สาขาช่างอุตสาหกรรมบนความปกติใหม่ช่วงวิกฤติโควิด–19, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, (8)3, มีนาคม 2564, หน้า 393-407.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2564). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาหรับนักเรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19, หน้า 2-3.

อัมพร พินะสา (2565). เปิด 15 พ.ค.! สพฐ.ยันไม่เลื่อนเปิดเทอมแล้ว พิษโควิดทำเด็กอ่านเขียนไม่ได้, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th/news/849000, เข้าดูเมื่อวันที่ 12/03/2565.

Lisa, R. (2021). Investigating English Students’ Motivation in Speaking Class during New Normal Era, Journal of English Education and Teaching, vol. 3(2), December 2021, pp. 428-439.

Andrew, L. (2022). Exploring Challenges of Major English Students Towards Learning English Speaking Skills Online During Covid 19 Pandemic and Some Suggested Solutions, in the 18th International Conference of the Asia Association of Computer-Assisted Language Learning (AsiaCALL–2-2021), Vietnam.

สิริพร อินทสนธิ์ (2563). โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ, วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, (22)2, ธันวาคม 2563, หน้า 203-214.

สุวิมล มธุรส (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19, วารสารรัชต์ภาคย์, (40)15, มิถุนายน 2564, หน้า 33-42.

Mohsin, M. (2021). 10 TikTok statistics that you need to know in 2021, URL: https://www.oberlo.com/blog/tiktok-statistics, accessed on 09/03/2022.

ณัฐพล ม่วงทำ (2565). สรุป 26 Stat & Insight ผู้ใช้ Facebook YouTube Instagram Twitter TikTok และ WeChat 2022, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/data-insight-facebook-youtube-instagram-twitter-tiktok-and-social-media-digital-stat-2022, เข้าดูเมื่อวันที่ 10/03/2565.

Simon, K. (2022). DIGITAL 2022: THAILAND, URL: https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand, accessed on 10/03/2022.

ธนพงศ์ พุทธิวนิช (2563). TikTok ผงาด แอปจีนที่มาแรงสุดในโลกยุคโควิด-19, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/d-life/news-484607, เข้าดูเมื่อวันที่ 12/03/2565.

Doyle, B. (2020). TikTok statistics–updated October 2020, URL: https://wallaroomedia.com/blog/social-media/tiktok-statistics, accessed on 10/03/2022.

สุรยศ เอี่ยมละออ (2564). TikTok กางกลยุทธ์ปี 2564 เพิ่มศักยภาพผู้ใช้และธุรกิจให้เติบโตบนโลกออนไลน์, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://ibusiness.co/detail/9640000028103, เข้าดูเมื่อวันที่ 12/03/2565.

Destia, H. (20220. Having Good Speaking English through Tik Tok Application, Journal Corner of Education, Linguistics, and Literature (JCELL), vol 1(3), January 2022, pp. 191-198.

Emma, D. (2021). TikTok as a Media to Enhancing the Speaking Skills of EFL Student’s, Jurnal Studi Guru dan Pembelajaran, vol. 4(1), April 2021, pp. 89-94.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education (3rd ed.), McGraw - Hill book Go, New York.

วรัตต์ อินทสระ (2562). เปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องเล่น, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://wbsc.dusit.ac.th/pluginfile.php/534/mod_forum/attachment/4320/GBL%20DOC, เข้าดูเมื่อวันที่ 15/02/2565.

อุไร มากคณา (2556). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ พื้นที่ไกลกังวล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า 175-176.

Abu, B. (2021). An Overview of the Utilization of TikTok to Improve Oral English Communication Competence among EFL Undergraduate Students, Universal Journal of Educational Research, vol. 9(7), June 2021, pp. 1439-1451.

Jenni, F. (2021). TikTok Effect to Develop Students’ Motivation in Speaking Ability, English Journal for Teaching and Learning, vol.9(2), December 2021, pp. 163 – 178.

Thorndike, E.L. (1966). Human learning, M.I.T. Press, Cambridge.

Ments, V. M. (1986). The Effective Use of Role Play: Practical techniques for improving learning, Kogan Page, London.

ทิศนา แขมมณี (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับปรับปรุง), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ur, P. (1998). A Course in Language Teaching Trainee, Cambridge University Press, Cambridge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30