การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทขนมเปี๊ยะ โดยใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • เทวัญ บุภักดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ผกามาศ ผจญแกล้ว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การออกแบบบรรจุภัณฑ์, เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ, ข้อกำหนดทางเทคนิคของบรรจุภัณฑ์, การประเมินการใช้งานบรรจุภัณฑ์, ความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ขนมเปี๊ยะที่แปลงจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ต้นแบบขนมเปี๊ยะด้านโครงสร้างและกราฟิกบรรจุภัณฑ์ และประเมินบรรจุภัณฑ์ต้นแบบขนมเปี๊ยะด้านการใช้งานและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย  ขั้นตอนออกแบบบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยการศึกษาความต้องการของลูกค้าที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมเปี๊ยะ จากกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่บริโภคขนมเปี๊ยะในจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 126 คน จากนั้นได้ใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) เป็นเครื่องมือแปลงความต้องการของลูกค้าให้เป็นข้อกำหนดทางเทคนิค เพื่อนำมาออกแบบโครงสร้างและกราฟิกของบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ และประเมินบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนาขึ้น ผลจากการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยความต้องการที่ลูกค้าให้ความสำคัญมาก คือ  ใช้วัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ( gif.latex?\bar{X} = 4.45) มีสินค้าให้เลือกหลายระดับราคา ( gif.latex?\bar{X} = 4.43) และช่วยยืดอายุจัดเก็บขนม ( gif.latex?\bar{X} = 4.42) ตามลำดับ จากการพัฒนาข้อกำหนดทางเทคนิคของบรรจุภัณฑ์ได้มีการออกแบบโครงสร้างและกราฟิกบรรจุภัณฑ์ ให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า 5 ลำดับแรกคือ โครงสร้างและขนาดบรรจุภัณฑ์เป็นมาตรฐานสำหรับ 3 ผลิตภัณฑ์ แสดงราคาสินค้าให้เห็นชัดเจน  มีเอกลักษณ์ที่จดจำได้ง่าย มีข้อมูลสำคัญของสินค้าครบถ้วนและเห็นได้ชัด และการปิดผนึก ผลการประเมินการใช้งานบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า บรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความต้านการตกกระแทก อยู่ในเกณฑ์ดีและประเมินความพึงพอใจของลูกค้า พบว่า ลูกค้ามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2564).รายชื่อผู้ที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านดาวเรืองพัฒนา (2564) ชื่อผลิตภัณฑ์ (มผช.) ขนมเปี๊ยะ เลขที่ใบรับรอง 153-5/115(สห)

รัญชนา สินธวาลัย และ เสาวรัตน์ เรืองรอง (2561). การประยุกต์ใช้บ้านคุณภาพในการพัฒนารูปแบบข้าวสารเพื่อเป็นของที่ระลึก วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 26 ฉบับที่ 3, กรกฎาคม-กันยายน 2561.

เกียรติวิทย์ สมทอง และ นลิน เพียรทอง (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กุนเชียงด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรมไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 , มกราคม-มีนาคม 2559.

พิมอักษร เที่ยงกระโทก, สุทธิดา พลอยกระจ่าง และ อภินันท์ พลานุวาส (2559). การประยุกต์ใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกล้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ปี 2559.

ยูนิเซฟ มาศวิเชียร (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงโดยการใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ:กรณีศึกษาโรงงานเบเครื่องแกงใต้, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปี 2561.

วิลาสินี มีสุข และระพี กาญจนะ (2554). การประยุกต์เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังเพื่อสุขภาพ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภัทรกร ออแก้ว (2563). การออกแบบบรรจุภัณฑ์พระสกุลลำพูน นครหริภุญไชย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมหาวัน วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 18 ฉบับที่ 2, ธันวาคม 2563

Sakao, T. (2007). A QFD-centred Design Methodology for Environmental Conscious Product Design. International Journal of Production Research. 45(18), 4143-4162.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30