วิทยาการคำนวณกับการใช้ชีวิตของผู้เรียนในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • นฐา ศรีนวล ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รุจโรจน์ แก้วอุไร ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พิชญาภา ยวงสร้อย ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

วิทยาการคำนวณ, การคิดเชิงคำนวณ, ผู้เรียนในยุคดิจิทัล, ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

วิทยาการคำนวณ ถูกนำมาบรรจุในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงมาตรฐานและตัวชี้วัด พ.ศ. 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (ว 4.2) ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในโลกของเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายมุ่งส่งเสริมทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเชิงสร้างสรรค์ เข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยี โดยนำแนวทางที่ได้จากการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพมาวิเคราะห์และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการทางความคิด นำข้อมูลความรู้จากการฝึกทักษะ การสั่งสมประสบการณ์ แนวทางการแก้ไขปัญหา กระบวนการวางแผน กระบวนการออกแบบขั้นตอน ทำให้ผู้เรียนที่เรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ สามารถทำความเข้าใจต่อกระบวนคิดการแก้ปัญหา อย่างรู้เท่าทัน จำได้ง่าย จำได้นานเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและสามารถนำการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีความจำเป็นในโลกปัจจุบันและโลกอนาคตเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลและการเรียนรู้สิ่งต่างๆในโลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้และทักษะการแก้ปัญหาในการใช้ทรัพยากร การสร้างองค์ความรู้การป้องกันภัยต่อการใช้ชีวิตและภัยบนโลกออนไลน์ให้เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรม พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันและรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีด้วยกระบวนการการคิดและทักษะชีวิตที่มีประสิทธิภาพในทุกการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, 2560, แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/RWvMJ, เข้าดูเมื่อวันที่ 09/01/2565.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564, แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน วิทยาการคำนวณ Coding เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี.

Shuchi. G.,Roy,P., 2013, Computational Thinking in K–12: A Review of the State of the Field, Educational Researcher, vol 42(1), August 2013, pp. 38–43.

Jeannette M., Wing, 2012, Computational thinking, COMMUNICATIONS OF THE ACM, vol 49(3), March 2006, pp. 33-35.

ชยการ คีรีรัตน์, 2562, การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา, วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2, เมษายน–มิถุนายน 2562, หน้า 31-47.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561, รู้จักวิทยาการคำนวณ, กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

อนัญญา ระโหฐาน, 2564, ผลการจัดการเรียนรู้อิงกิจกรรมในชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณในเด็กปฐมวัย, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 3, กันยายน – ธันวาคม 2564, หน้า 41-55.

ศรราม สุขสำราญ, 2564, การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การจัดการข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุด เทคโนโลยีการจัดการข้อมูล, วารสารร้อยแก่นสาร, 3, มีนาคม 2564, หน้า 152-163.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560, ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วิจารณ์ พานิช, 2556, สนุกกับการเรียนในศตวรรษ ที่ 21, กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้, 2562, สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล, กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27