การพัฒนาชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันเฟคนิวส์สำหรับนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • จิรัชยา นวลนิ่มน้อย ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • โสพล มีเจริญ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันเฟคนิวส์, กิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์, ชุดคอนเทนต์ออนไลน์, นักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสํารวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันเฟคนิวส์สำหรับนักศึกษา 2) เพื่อพัฒนา และประเมินคุณภาพ 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอน ADDIE Model 5 ขั้นตอน ได้แก่ Analysis,  Design, Development, Implementation และ Evaluation  กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาคเรียนที่ 1/2564 มีจํานวนนักศึกษา 30 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ETM 102 Mass Communication และยินดีตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบไปด้วย 1) แบบสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง 2) ชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ 3) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา และสื่อการนำเสนอ 4) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 5) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า  ชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}  = 4.53 , S.D. = 0.05) มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.67, S.D.= 0.23) และคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.92, S.D. = 0.26) มีผลการประเมินการรับรู้ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}  = 4.30 , S.D. = 0.07) และมีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}  = 4.69 , S.D. = 0.10) แสดงให้เห็นว่า ชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการเรียนการสอน หรือเผยแพร่เรื่องการรู้เท่าทันเฟคนิวส์ได้

References

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และพิรงรอง รามสูตร รณะนันทน์ (2550). สื่อสารมวลชนเบื่องต้นสื่อมวลชน วัฒนธรรมและสังคม, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จงรัก เทศนา (2555). อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) , [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.krujongrak.com/infographics/infographics_information.pdf เข้าดูเมื่อวันที่ 13/03/2564.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, Veridian E-Journal , 10, พฤษภาคม 2560, หน้า 1333.

ภากิตติ์ ตรีสุกล (2551). การสื่อสารระหว่างบุคคล, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2560). ปฏิสัมพันธ์ , [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ เข้าดูเมื่อวันที่ 13/03/2564.

อาริยา สุขโต (2563). เฟคนิวส์ รู้ทันในยุคข้อมูลข่าวสาร , [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2563-oct3 เข้าดูเมื่อวันที่ 13/03/2564.

กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ (2561). การรู้ทันสื่อ การรู้ทันตนเองกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37, มกราคม 2561, หน้า 200 - 213.

วรัชญ์ ครุจิต และฉัตรฉวี คงดี (2554). การสำรวจการเรียนการสอนความรู้เท่าทันสื่อในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย, คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

โรม วงศ์ประเสริฐ (2545). เทคนิคการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนด้วยกิจกรรม, สถาพรบุ๊คส์, กรุงเทพมหานคร.

สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541). กิจกรรมปฎิสัมพันธ์การสอนทางไกล, สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2563). สถิตินักศึกษา , [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://regis.kmutt.ac.th/service/static/old/1-2563.pdf handle เข้าดูเมื่อวันที่ 13/03/2564.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล (2555). การออกแบบระบบการสอน ADDIE MODEL , [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://codexarticle.blogspot.com/2012/04/addie-model.html เข้าดูเมื่อวันที่ 20/07/2564.

สุมิตร์ ผูกพานิช (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในจังหวัดนครปฐม, การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กวิสรา ทองดี. (2557). การพัฒนาระดับการรู้เท่าทันสื่อโดยใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสานความจริง เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาสำหรับเด็กและเยาวชน. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. หน้า ข.

สุจิตรา สาระอินทร์. (2558). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายดิจิทัลที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิจารณญาณ เรื่อง รู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนแกนนำที่เข้าร่วมโครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อไอซีที. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. หน้า ข.

ณีรนุช ปี่แก้ว (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดร่วมกับนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19, กรกกฎาคม 2563, หน้า 116.

พิมพ์ดา พงศ์คุณาพร (2559). การพัฒนาอินโฟกราฟิกและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เรื่อง กระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาอินโฟกราฟิกและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เรื่อง กระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, วิทยานิพนธ์ปริญญา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

บารมี เกาะแก้ว (2562). การสร้างชุดสื่อและการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่อง มารยาทและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นพมาศ ธีรเวคิน (2534). จิตวิทยาสังคม, สำนักงานพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

Likert’s Scale (1961). New Patterns of Management, Mc Grew-Hill book com, New York.

สมโชค เนียนไธสง และคณะ (2561). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโรคอ้วนในเด็ก ช่วงอายุ 6 – 12 ปี กรณีศึกษา โรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง), วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5, มกราคม 2561, หน้า 187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30