การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมดเบเกอรี่

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี บินรามัน ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรปภัสสร ปริญชาญกล ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์, อินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์, ส่งเสริมการขายสินค้า, โฮมเมดเบเกอรี่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมด เบเกอรี่ 2) เพื่อประเมินผลการรับรู้ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมด เบเกอรี่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน จากผู้ที่เป็นสมาชิก เฟซบุ๊กเพจ kinnhom_ และยินดีตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี (gif.latex?x\bar{} = 4.49, S.D. = 0.57) การประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก(gif.latex?x\bar{} = 4.53, S.D. = 0.66) การประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{} = 4.40, S.D. = 0.64) และการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{} = 4.39, S.D. = 0.64) ดังนั้นดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมด เบเกอรี่ สามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพ

References

กระทรวงพาณิชย์, (ม.ป.ป.), ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/c.dicchithalkhnethnt_rev4.pdf, เข้าดูเมื่อวันที่ 15/04/2564.

พิชิต วิจิตรบุญยรัตน์, (ม.ป.ป.), สื่อสังคมออนไลน์, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/ executive_journal/ oct_dec_11/pdf/aw016.pdf, [17/040/2564].

Fastket, 2021, เผยข้อมูลสถิติและพฤติกรรมการใช้งาน Facebook ในปี 2021, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.fastket.co/single-post/เผยข-อม-ลสถ-ต-และพฤต-กรรมการใช-งาน-facebook-ในป-2021, เข้าดูเมื่อวันที่ 18/07/2564.

สุภาพร นะมามะกะ, ศยามน อินสะอาด และสุพจน์ อิงอาจ, 2562, การพัฒนาสื่อการสอนอินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่ง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, วารสารวิชาการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 14, มกราคม - มิถุนายน 2562, หน้า 2, 10.

เจ้าของร้าน, 2563, Homemade Bakery คืออะไร? ทำไมต้องโฮมเมดเบเกอรี่, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.mspollyhomemade. com/article/5/homemade-bakery-คืออะไร-ทำไมต้องโฮมเมดเบเกอรี่, เข้าดูเมื่อวันที่ 17/04/2564.

ชีวรรณ เจริญสุข, 2557, การส่งเสริมการขาย (SALE PROMOTION), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://maymayny. wordpress.com/2014/12/05/บทที่-7-การส่งเสริมการขา/, เข้าดูเมื่อวันที่ 17/04/2564.

. นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม, 2553, วิทยานิพนธ์เรื่อง อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค, วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้าบทคัดย่อ.

อุไรรัตน์ มากไมตรี, 2558, วิทยานิพนธ์เรื่อง อิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกรณีศึกษาธุรกิจเบเกอรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้าบทคัดย่อ.

Kinnhom, 2019, Kinnhom, URL: https://www.facebook.com/kinnhommm, accessed on 24/07/2564.

ศวิตา ทองสง, 2555, แนวคิดเรื่อง ADDIE MODEL, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://sites. google.com/site/prae8311/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model, เข้าดูเมื่อวันที่ 17/06/2554.

กัญญลักษณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา, 2558, วิทยานิพนธ์เรื่อง การพัฒนานิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา โดยการเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการโฆษณา, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้าบทคัดย่อ.

อนันท์ วาโซะ, 2558, การออกแบบงานกราฟิก, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www2.Yothinburana.ac.th/website/doc_news/docnews772.pdf, เข้าดูเมื่อวันที่ 07/06/2564.

เพ็ญศรี จุลกาญจน์ และชวิศ น้อยหัวหาด, 2559, การออกแบบกราฟิกและสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับประชาสัมพันธ์ชุมชนบ้านข้างวัด, นเรศวรวิจัยครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, หน้า 1760.

มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์, 2553, แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://thesis.rru.ac.th/files/pdf/1185944753บทที่%202.pdf, เข้าดูเมื่อวันที่ 07/06/2564.

พีรวัฒน์ สุขเกษม, 2563, การพัฒนาสื่อโมชั่นอินโฟกราฟิกในการเสริมสร้างจิตสานึกเพื่อการต่อต้าน และการป้องกันต้านการทุจริตสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดเพชรบูรณ์, วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11, มกราคม - มิถุนายน 2563, หน้าบทคัดย่อ.

ชฎาพร ลีไพศาลสกุล, เครือวัลย์ เกิดหนู และทรงธรรม สุขเกษม, 2560, การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชันเพื่อประชาสัมพันธ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสงขลา, สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, หน้าบทคัดย่อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27