การสร้างสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก

ผู้แต่ง

  • วรัช ตันติวงศ์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เพียงเพ็ญ จิรชัย ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • โสพล มีเจริญ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างสื่อบทเรียนดิจิทัล, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สื่ออินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างสื่ออินโฟกราฟิกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างสื่ออินโฟกราฟิก ของนักศึกษาฯ3) เพื่อประเมินการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิกของนักศึกษาฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาฯที่มีต่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning ที่สร้างขึ้น  โดยกลุ่มที่ศึกษา คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีสื่อสารและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งได้มาโดยการซึ่งได้มาจากการสุ่มห้อง ได้ห้องเรียน 1 ห้อง จำนวน 57 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อของการสร้างสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิกโดยผู้เชี่ยวชาญนั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.67, S.D. = 0.48) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการวัดความรู้หลังเรียน (gif.latex?\bar{X}= 15.40, S.D. = 2.72) สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการวัดความรู้ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างออกแบบชิ้นงานได้คุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน (ร้อยละ 100.00) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.88, S.D. = 0.93) ดังนั้นสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก จึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม และกรรณ จรรยาวุฒิวรรณ, 2561, เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู, วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ปีที่ 13 ฉบับที่ 14-15, หน้า 15.

ไพรัช ธัชยพงษ์ และ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์, 2541, รายงานการศึกษาวิจัยประกอบการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ: ประเด็นเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 26.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ, 2542, เทคนิคการสร้างบทเรียนดิจิทัลการสอน, ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร, กรุงเทพมหานคร, หน้า 5-125.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540, สรุปแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพมหานคร.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2561, นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0, เชียงใหม่ : ตองสามดีไซน์.

จำนง สันตจิต, 2564, แนวคิด ทฤษฎีการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาในอนาคต [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts, เข้าดูเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564.

ปรียานุช พรหมภาสิต, 2559, เอกสารคู่มือการจัดการเรียนรู้ Active learning (AL) for Huso at KPRU, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อัญชริกา จันจุฬา, สกล สมจิตต์ และ สุภาพร จันทรคีรี, 2563, การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยะลา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, หน้า 1.

กมล โพธิเย็น, 2564, Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 Active Learning: Learning satisfy Education in 21st centuryวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 19 (1), มกราคม – มิถุนายน 2564, หน้า 11-28.

Florida state University, 1975, ADDIE – Model, Online], Available: http://www.nwlink.com/~donclark/. เข้าดูเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564.

ล้วน สายยศ และ อังคนา สายยศ, 2538, เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 5, สุวีริยาสาส์, กรุงเทพฯ, หน้า 74-211.

Silberman, Melvin L., 2005, 101 Ways to Make Training Active. San Francisco, Calif. : Pfeiffer..

สุภาวดี บินดิโตวา และ สัญชัย พัฒนสิทธิ์, 2565, การพัฒนาบทเรียนดิจิทัลเรื่องการแก้ปัญหาโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5 (14), เมษายน - มิถุนายน 2565, หน้า 59-61.

สุภาณี เส็งศรี, 2550, คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, บทความเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต, [ระบบออนไลน์].

สุมิตตา พูลสุขเสริม, 2559, การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ของผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯ, วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ, กรุงเทพฯ.

จักรกฤษณ์ แสงแก้ว, 2546, การสร้างบทเรียนดิจิทัลการสอนเรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิก, ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต, ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22