การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ เทียนสว่าง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อลิสา ทรงศรีวิทยา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์, นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ 3) เพื่อหาประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 จำนวน 34 คน    จากวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 84.93/88.63 ค่าประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.84 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67

References

[ 1 ] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542, 2562, ราชกิจจานุเบกษา.

[ 2 ] กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2545, คู่มือการจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

[ 3 ] ถวัลย์ มาศจรัส, 2546, คู่มือการเขียนหนังสือสำหรับการค้นคว้าตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย.

[ 4 ] จินตวีร์ คล้ายสังข์, 2556, อีเลิร์นนิ่งคอร์สแวร์ แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งในทุกระดับ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, หน้า 1.

[ 5 ] จันทร์จิรา ใจเย็น, 2558, ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนโดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดดอนลาน (มนตรีประเสริฐอุปถัมภ์), วิทยาลัยเทคโนโลยี อักษรบริหารธุรกิจ, ระยอง, หน้า 13 – 14.

[ 6 ] ธวัชชัย สหพงษ์, 2563, ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน, วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี, ฉบับที่ 7, ธันวาคม 2563, หน้า 7 – 14.

[ 7 ] นิเวศน์ วงศ์ประทุม, 2558, การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียประกอบการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, ฉบับที่ 7, เมษายน 2558, หน้า 155 – 164.

[ 8 ] วัชระ เยียระยงค์, 2549, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นปีที่ 2, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 63.

[ 9 ] กวินท์ นนทรีกาญจน์, 2557, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Captivate เพื่อการฝึกอบรมครู, วารสารจันทรเกษมสาร, ฉบับที่ 38, มิถุนายน 2557,หน้า 69 – 76.

[ 10 ] กชนนท์ ขวัญพุฒ, 2563, การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5, วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, ฉบับที่ 12, สิงหาคม 2563, หน้า 160 – 172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29