ชุดสื่อเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ศิรินฤดี ยศโสทร ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อรวรรณ งอยผาลา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ประภัสสร วงษ์ดี ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วัลลภา วาสนาสมปอง ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ชุดสื่อ, โรคซึมเศร้า, สื่อโมชันกราฟิก, สื่ออินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจ รู้สึกสิ้นหวัง เป็นภัยเงียบที่นำไปสู่การทำร้ายตัวเองทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าโรคนี้จะรักษาไม่ได้ มันมีโอกาสรักษาให้หายได้ เพียงต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นจะดีกว่าไหม ถ้าเรามีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างปลอดภัย ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดสื่อเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า 2) ศึกษาคุณภาพของชุดสื่อ 3) เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า ก่อนและหลังรับชมผ่านชุดสื่อ 4) วิเคราะห์คะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพตามองค์ประกอบ 5) ประเมินความพึงพอใจ ระยะเวลาในการทำวิจัยตั้งแต่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดสื่อเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อ 3) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้าก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดสื่อประกอบด้วย 1. สื่ออินโฟกราฟิก จำนวน 9 แผ่น 2. สื่อโมชันกราฟิก 1 คลิป ความยาว 10.28 นาที 2) คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\small&space;\bar{X} = 5.00, S.D. = 0.00) คุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\small&space;\bar{X} = 4.82, S.D. = 0.30) 3) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า หลังรับชม (gif.latex?\small&space;\bar{X} = 41.67) สูงกว่าก่อนรับชม (gif.latex?\small&space;\bar{X} = 34.27) ชุดสื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05    4) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมผ่านเกณฑ์จำนวนมากที่สุดอยู่ในระดับปฏิสัมพันธ์ รองลงมาอยู่ในระดับพื้นฐานและระดับวิจารณญาณ โดยคิดเป็นร้อยละ 96.67, 93.33 และร้อยละ 93.33 ตามลำดับ 5) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\small&space;\bar{X} = 4.78, S.D. = 0.19) เนื่องจากได้มีการออกแบบเนื้อหาโดยใช้คำอธิบายที่สั้น กระชับ ชัดเจน ทำให้ผู้รับชมสามารถเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างตรงกัน

References

สายฝน สีนอเพีย และ รุจิรา ดวงสงค์, 2564, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 3, กรกฎาคม – กันยายน 2564, หน้า 10-23.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, 2562, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ, กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่่า และ ศักดิ์มงคล เชื้อทอง, 2565, ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน, วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 29, กรกฎาคม, หน้า 71-81.

ปนัดดา จั่นผ่อง, อัญชุลี อ่อนศรี และ เนติ์ ภู่ประสม, 2562, รายงาน การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียน, สำนักเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, หน้า 1-76.

อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2557, การพัฒนาและใช้เครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยวัยผู้ใหญ่ในการ

ปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส. [Online], แหล่งที่มา http://bsris.swu.ac.th/upload/243362.pdf เข้าดูเมื่อวันที่ 18/04/2565.

จักรภัทร เครือฟัก และ รุจโรจน์ แก้วอุไร, 2564, สื่ออินโฟกราฟิกกับการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติโควิด19, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 24, มีนาคม 2564, หน้า 47 - 63.

สำนักงานทะเบียนนักศึกษา, 2565, สถิตินักศึกษาปัจจุบันระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1/2565 [Online], แหล่งที่มา https://regis.kmutt.ac.th/service/statistics/165/status_165b.pdf เข้าดูเมื่อวันที่ 18/09/2565.

คริส ไพไรจน์, 2561, มาตรวัดของลิเคิร์ท คืออะไร [Online], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/0mHoC เข้าดูเมื่อวันที่ 18/04/2565.

เวชยันต์ ปั่นธรรม, 2560, การผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล [Online], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/drp50 เข้าดูเมื่อวันที่ 18/04/2565.

อนุศักดิ์ งิ้วสะ, 2565, การออกแบบอินโฟกราฟิก [Online], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/hAl9n เข้าดูเมื่อวันที่ 18/04/2565.

พีรวัฒน์ สุขเกษม, 2564, ทำไมต้องโมชันกราฟิก [Online], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/JsrvZ เข้าดูเมื่อวันที่ 18/04/2565.

จงรัก เทศนา, 2565, การออกแบบอินโฟกราฟิก [Online], แหล่งที่มา https://thechapt.com/infographic/เข้าดูเมื่อวันที่ 18/09/2565.

นพดล อัครคหสิน, 2565, ข้อดีของการทำ Motion Graphics [Online], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/uXGgC เข้าดูเมื่อวันที่ 18/04/2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29