ประสบการณ์การดำเนินการจัดการศึกษานอกพื้นที่ระดับปริญญาตรี ตามโครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตนักเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยเทคนิคฯ
คำสำคัญ:
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต, การศึกษานอกพื้นที่, โครงการความร่วมมือ, แบ่งบันประสบการณ์บทคัดย่อ
โครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตนักเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยเทคนิคฯ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ใช้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยหลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะผลิตนักเทคโนโลยีและช่างเทคนิคระดับปริญญาตรี ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม ได้แก่ เทคโนโลยีเครื่องกล เทคโนโลยีโยธา เทคโนโลยีไฟฟ้า และ เทคโนโลยีอุตสาหการ โดยที่หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสหกิจศึกษา และประเมินผลการเรียนของนักศึกษาแบบฐานสมรรถนะเพื่อสนองกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โครงการนี้ได้เปิดทำการเรียนการสอนระหว่างปีการศึกษา 2551 - 2557 โดยรับนักศึกษาระดับ ปวส. เข้าศึกษาต่อผ่านการเทียบโอนเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา เป็นจำนวน 5 รุ่น บทความนี้ได้นำเสนอรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการฯ ผลการดำเนินการ พร้อมผลการถอดบทเรียนเพื่อสรุปข้อมูลที่สำคัญของการจัดการศึกษา โดยได้แสดงจุดแข็ง จุดอ่อน และผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากโครงการความร่วมมือฯ ที่ได้ดำเนินการ
References
ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551, เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก, ประกาศใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2551.
ราชกิจจานุเบกษา กฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ที่ ๕๖ ก, ประกาศใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2555.
ราชกิจจานุเบกษา กฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔๐ ก, ประกาศใช้เมื่อ 9 พฤษภาคม 2556.
หลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2557, สำนักมาตราฐานอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
ธนพัฒน์ ศรีผ่าน และ ชูชัย สุจิวรกุล, “การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษา หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (สหกิจศึกษา) ตามโครงการความร่วมมือระหว่าง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ วิทยาลัยเทคนิคฯ ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” The 3rd, National and International SMARTS, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม, 15 – 16 กุมภาพันธ์ 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT