การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน

ผู้แต่ง

  • ญาณิศา สุวรรณปาล ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ภัสกร ตั้งชาญตรงกุล ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เพียงเพ็ญ จิรชัย ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์, การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง, การเรียนรู้ด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง  3)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง  4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน  ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับฉลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง  2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ผลการศึกษาพบว่า สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นสื่อวีดิทัศน์ที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาที่อยู่ภายในได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้อย่างอิสระ     สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์   มีคุณภาพเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  ( gif.latex?\small&space;\bar{X} = 4.64, S.D. = 0.49) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดี ( gif.latex?\small&space;\bar{X} = 4.26, S.D. = 0.52) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง อยู่ในระดับมากที่สุด(gif.latex?\small&space;\bar{X} = 4.86, S.D. = 0.36 ) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้

References

กิดานันท์ มลิทอง, 2548, เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา, อรุณการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, หน้า 242-243, 250-252, 272 [20 สิงหาคม 2565].

พงศธร ตั้งสะสม, 2559, การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตสำหรับนักท่องเที่ยวจีน, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 18-26 [20 สิงหาคม 2565].

พิจิตรา ธงพานิช, 2561, วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://adi2learn.blogspot.com/2018/01/addie-model.html [2 พฤศจิกายน 2566].

อัครพล สีหนาท, 2557, เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีเครื่องเสียง, รหัสวิชา MS00221, สาขาวิชาดนตรี, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, หน้า19-33, 41-51, 92, 127-141, 156 [2 พฤศจิกายน 2566].

อัชฌา สุวรรณกาญจน์, 2557, เอกสารประกอบการอบรม การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เรื่อง แบบแผนการวิจัยแบบก่อนทดลอง, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://permboonlearningcenter.com/pdf/r2r/3.pdf, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ [20 สิงหาคม 2565].

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2547, การศึกษาเอกตภาพและการศึกษามวลชน หน่วยที่ 10 ในเอกสารการสอนเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, นนทบุรี, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, หน้า 623-624, 624-629, 641-643, 645-665 [20 สิงหาคม 2565].

เอกสิทธิ์ อภิสิทธิกุล, 2555, การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องการผลติรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า58 [18 กันยายน 2565].

ชัยวัฒน์ ยะปัญญา, 2556, การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องวิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์วิชาหลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์, วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, สาขาวิชาสื่อดิจิทัล, คณะศิลปะศาสตร์, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, หน้า67 [20 สิงหาคม 2565].

รัตนา นิษุณะรัตน์ เอกธันวา สารศรี และคุณานนต์ แซ่ลี้, 2561, การพัฒนาสื่อวิดีโอ 360 องศาแบบสร้างปฏิสัมพันธ์และการรับรู้ในการนําเสนอสถานที่ท่องเที่ยวเกาะกูด จังหวัดตราด, วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชล, คณะเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า109 [18 กันยายน 2565].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29