การพัฒนากิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์ เพื่อการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา
คำสำคัญ:
กิจกรรมนักศึกษาแบบออนไลน์, การโค้ช, การรับรู้, แก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์เพื่อการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์เพื่อการรับรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา และ 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของโค้ชจิตอาสาที่มีต่อกิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์เพื่อการรับรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ฯ ปีที่ 1-4 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์ 2) แบบสอบถามของนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามของโค้ชจิตอาสา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษาได้ โดยก่อนรับการโค้ชระดับเกณฑ์มาก ( = 4.26, S.D = 0.74) ระหว่างรับการโค้ชระดับเกณฑ์มาก ( = 4.43, S.D = 0.56) หลังรับการโค้ชระดับเกณฑ์มาก ( = 4.44, S.D = 0.47) งานวิจัยนี้จึงสามารถเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อช่วยส่งเสริมทักษะการดำเนินชีวิตให้นักศึกษา ซึ่งสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยุทธศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ พ.ศ. 2566-2570
References
วิจารณ์ พานิช, 2556, วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์, กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
ชล บุญนาค และคณะ, 2561, รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) Research Coordination for SDGs มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า 10-12.
บริษัท โค้ชไทย คอร์ปอเรชั่น, 2567, รูปแบบสมรรถนะหลัก สหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (ICF Core Competency), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.coachthai.com/17334880/icf-สหพันธ์การโค้ชนานาชาติ, เข้าดูเมื่อวันที่ 09/050/2567.
สถาบันโค้ชไทย, 2023, หัวใจแห่งการโค้ช, กรุงเทพ: ม.ป.พ.
บุญยนุช นิลแสง, 2555, ยุทธศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2566 – 2570 กรอบการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
มงคล จิตรโสภิณ, 2565, การพัฒนาระบบโค้ชด้วย GROW MODEL เพื่อพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยในการออกแบบงานวิจัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(6), 99-110.
ชิตาพร เอี่ยมสะอาดและพัชรินทร์ จันทร์ส่องแสง, การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการโค้ชตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู (The Development of Learning Management Model Basing on Contemplative Education and Coaching Approaches to Promote Ability in Classroom Research of Pre-service Teachers), มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ลัดดา หวังภาษิต, การโค้ชเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมีความสุข (COACHING FOR LEARNING ENGLISH WITH HAPPINESS), วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18, กรกฎาคม 2559, หน้า 351-363.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล, การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching), กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT