การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ชนัญญา ลายสาคร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรปภัสสร ปริญชาญกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ มจธ. 0000-0002-3501-5582
  • ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, นาโนอินฟลูเอนเซอร์, แพลตฟอร์มออนไลน์, อาหารฮาลาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการในการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์     เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน จากผู้ที่เรียนในรายวิชา ETM 314 การสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนในภาคการศึกษาที่ 2/2566  และยินดีตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test  ผลการศึกษาพบว่า ผลสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D.=0.51) ผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (=4.86, S.D.=0.20) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (= 4.22, S.D.=0.62) ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังชมสื่อและกิจกรรมสูงกว่าก่อนชมสื่อและกิจรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test=-8.24) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.70, S.D.=0.45)

References

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2565). เทคนิคการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.popticles.com/communications/effective-communication-techniques/, เข้าดูเมื่อวันที่ 08/03/2566.

Krupiyadanai. (2014). ประโยชน์ของวีดิทัศน์., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มาhttps ://krupiyadanai.wordpress.com/computer4/เทคโนโลยีสือประสม/วีดิทัศน์, เข้าดูเมื่อวันที่ 08/03/2566.

wachira thongs. (2022). แพลตฟอร์มคืออะไร., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https ://talkatalka.com/blog/what-is-a-platform, เข้าดูเมื่อวันที่ 08/03/2566.

rainmake. (2021). Nano Influencer สำคัญอย่างไร ร่วมงานให้ปังต้องทำยังไงบ้าง., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https ://www.rainmaker.in.th/how-to-work-with-nano-influencers, เข้าดูเมื่อวันที่ 08/03/2566.

แม็คโครโฮเรก้าอคาเดมี. (2563). โอกาสเติบโตของร้านอาหารปี 2020 จะเป็นอย่างไร., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://makrohorecaacademy.com/th/articles/restaurant-growth-opportunities, เข้าดูเมื่อวันที่ 31/12/2566.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2014). มาตรฐานอาหารฮาล้าล., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.acfs.go.th/halal/general.php, เข้าดูเมื่อวันที่ 31/12/2566.

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2565). รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสื่อสารองค์กร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ผู้ให้สัมภาษณ์สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31/12/2566.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(2023). Student Entrepreneurship., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.kmutt.ac.th/service-partnership/student-entrepreneurship, เข้าดูเมื่อวันที่ 31/12/2566.

อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2019). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่อง การจัดและตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/204222, เข้าดูเมื่อวันที่ 31/12/2566.

จิตราภร ชั่งกริส และนพดล พรามณี. (2017). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่อง การตรวจร่างกาย รายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/100746, เข้าดูเมื่อวันที่ 31/12/2566.

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2567). รายงานรายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียน., [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มาhttps://studentacademic.kmutt.ac.th/NewAcis/secured/registration/scores/reportEnrollmentScorePage

.jsf ,เข้าดูเมื่อวันที่ 31/12/2566.

บุษราคัม พินิจนึก(2564). การออกแบบการเรียนการสอนด้วย ADDIE Model, บุษราคัม (ฤตธวัส),หน้า 6-10.

ชูศรี วงศ์รัตนะ (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่องานวิจัย,พิมพ์ครั้งที่ 10, บริษัทไทเนรมิกิจอินเตอร์ โปรแกรสซิฟ.

Digital Factory co.ltd. (2023). เจาะลึกกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงลูกค้าอย่างแม่นยำด้วย Nano Influencer., [ระบบ

ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.digitalfactory.co.th/th/nano-influencer-marketing-S0106.

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล, กนกพร คำสนอง และณปภัช สุนทรโภคิน. (2565). การพัฒนาชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารสุขภาพจิต เรื่อง การมีปฏิสัมพันธ์ด้านการสื่อสาร บริการจิตวิทยาและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. 2 (1) หน้า 1-15.

เขมทัต บุญพ่วง พรปภัสสร ปริญชาญกล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2565). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน, วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี 2 (2) หน้า 38-49.

กันยา สุวรรณแสง. (2538). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพ. บำรุงสาส์น.

จิรัชยา นวลนิ่มน้อย กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และโสพล มีเจริญ. (2565), การพัฒนาชุดคอนเทนต์ออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันเฟคนิวส์สำหรับนักศึกษา.วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี. 2 (1) หน้า 85.

พรปภัสสร ปริญชาญกล กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ชนัญญา ลายสาคร และนัสมีย์ แสงมาน . (2565), การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เรื่องคู่มือแนะนำ การบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 21 (2) หน้า 256.

วรเมธ ไวยเจริญ. (2564), ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อการเลือกใช้งานโปรแกรมบริการประชุมออนไลน์ภายในมหาวิทยาลัย, สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า ค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30