การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันตามกฎ COLREGs 1972 โดยการจำลองการเดินเรือผ่านเว็บแอปพลิเคชัน

ผู้แต่ง

  • ธนรุจ โรจน์มานะวงศ์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
  • สุพัตรา ชะมะบูรณ์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
  • อาริสา ธาตุเสถียร ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
  • จตุพล จตุรภัทร ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก, การเดินเรือ, หลีกเลี่ยงการโดนกัน, ระบบจำลอง, เว็บแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

กฎ COLREGs 1972 เป็นสิ่งที่นักเดินเรือจำเป็นต้องเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้แบบบรรยายไม่สามารถทำให้เข้าใจได้เท่ากับการลงมือปฏิบัติจริงหรือเรียนรู้ผ่านระบบจำลอง แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายสูง รองรับผู้เรียนได้น้อย ทางศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีจึงได้พัฒนาระบบจำลองการเดินเรือขึ้นชื่อ CASim สำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเกี่ยวกับกฎ COLREGs 1972 การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณภาพของระบบจำลองการเดินเรือ CASim โดยผู้เชี่ยวชาญ 2) เปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับระบบจำลองการเดินเรือ CASim กับการเรียนแบบดั้งเดิม และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนตามแผนการเรียนวิชาการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ภาคการศึกษาที่ 1/2565 และ 1/2566 จำนวน 120 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบจำลองการเดินเรือ CASim 2) แบบประเมินคุณภาพของ CASim 3) แบบทดสอบวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของระบบจำลองการเดินเรือ CASim โดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับการใช้ระบบจำลองการเดินเรือ CASim สูงกว่าการเรียนรู้แบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

สถาพร พฤฑฒิกุล (2558). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, วารสารศึกษาศาสตร์, 28(2), พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, หน้า 36 – 49.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf เข้าดูเมื่อวันที่ 2/10/2566.

กมล โพธิเย็น (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(1), มกราคม – มิถุนายน 2564, หน้า 11 – 28.

ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร (2558). อนาคตเด็กไทยในมือครู, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2015/05/thai-student-future/ เข้าดูเมื่อวันที่ 28/09/2566.

Master COLREGS (2023). Ship Navigation Lights Shapes and Signals, URL: https://mastercolregs.com/navigation-lights-and-shapes/, accessed on 10/08/2023.

จตุพล จตุรภัทร (2565). การพัฒนาระบบการเรียนวิชาฟิสิกส์ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันบนไฟร์เบส, การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ INTEC 2022 ที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี.

กรภัทร เฉลิมวงศ์, บุษราคัม ทองเพชร, ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ, บุณยนุช พรมเพชร และชลิตา เรืองนุ่น (2563). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (MMCAI) โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่องพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 หลักสูตรครุศาสตร์อตุสาหกรรมบัณฑิต, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มาhttps://www.repository.rmutsv.ac.th/bitstream/handle/123456789/1533/FullText.pdf?sequence=1 เข้าดูเมื่อวันที่ 6/02/2567.

ธนกฤต อัธยาจิรกูล และสุณิสา สุมิรัตนะ (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกกับการเรียนแบบปกติ, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), เมษายน 2565, หน้า 161 – 173.

รังสรรค์ มาระเพ็ญ วรรณวีร์ บุญคุ้ม และคณิต เขียววิชัย (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการสอน เรื่องการดูแลสุขภาพที่บ้าน, วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(1), มกราคม-มิถุนายน 2564, หน้า 125 - 139.

ญาณี กลั่นภูมิศรี, อนุชา วัฒนาภา, เอกรัตน์ รวยรวย และวิศิษฏ์ศรี วิยะรัตน์ (2560). การปรับเปลี่ยนห้องเรียนไปสู่การเรียนรู้เชิงรุกโดยวิธีกระบวนกรในรายวิชาทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ, วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1), มกราคม-มิถุนายน 2560, หน้า 5 – 28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30