มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการ แรงงานต่างด้าว

Main Article Content

อนัญญา กรีธาพล
พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของการควบคุมผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว 2) เพื่อศึกษาการใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว และ 3) วิเคราะห์การใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการ ที่มีต่อการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ร่วมปฏิบัติการวิจัยด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง 15 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ และแรงงานต่างชาติ ใช้แบบสัมภาษณ์โดยไม่กำหนดโครงสร้างในข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนาด้วยการเล่าเรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมาของการควบคุมผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว การอพยพเข้ามาของแรงงานต่างด้าว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ทำให้รายได้ไม่เพียงพอ ตามมาด้วยการเกิดปัญหาความยากจน 2) การใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว การใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าว มีสิทธิได้รับค่าจ้างขั้นต่ำไม่น้อยกว่าที่กำหนด มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในกรณีที่ทำงานเกินเวลาปกติ แรงงานต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และ 3) วิเคราะห์การใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว ประกอบด้วย 1) กฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม คุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน เพื่อประโยชน์ในการทำงานอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และ 2) กฎหมายของไทย พระราชบัญญัติการทำงานของแรงงานต่างด้าว

Article Details

How to Cite
กรีธาพล อ., ช่วยธานี พ., & ฐิติปสิทธิกร พ. (2024). มาตรการบังคับใช้กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการที่มีต่อการจัดสวัสดิการ แรงงานต่างด้าว. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(12), 337–346. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/278828
บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2558). นโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว. กรุงเทพมหานคร: สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์.

กิริยา กุลกลการ. (2557). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จำรัส อึ้งศรีวงษ์. (2560). มาตรการกีดกันทางการค้าของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกากับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารศิลปการจัดการ, 1(1), 45-53.

เจตริน นิลภา. (2563). ปัญหา อุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคนต่างด้าว ในการบริหารจัดการอาคารชุด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 25-36.

ณัฐพล บำรุงราชภักดี และเสกสัณ ครือคำ. (2566). การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 17(2), 167-175.

บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์ และคณะ. (2566). การเข้าถึงสิทธิการคุ้มครองแรงงานผิดกฎหมายไร้ฝีมือศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 91-104.

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. (2550). สถานการณ์แรงงานอพยพข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ. (2552). บทสังเคราะห์นโยบายยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและแรงกดดันในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ.

เรืองเดช นวสันติ และคณะ. (2566). การพัฒนากฎหมายประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 13(2), 514-528.

วิชาญ จันทร์อินทร์. (2565). มาตรการในการควบคุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศไทย. ตาก: วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.

ศิริสุดา แสงทอง และคณะ. (2565). การจัดสวัสดิการสังคมภาครัฐที่มีต่อแรงงานข้ามชาติในภาคเหนือตอนบน. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 29-45.

สุรชัย ชีวบันเทิง และคณะ. (2564). ประสิทธิผลของการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 106-144.

เอกรินทร์ ศิโรรัตนชัย และสุรทิน เหล่าศรี. (2567). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานธุรกิจการประมงทะเล. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(5), 30-44.