การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัตตารีคเรื่องอุลุลอัซมียฺโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • อาดีละห์ ลือแบบราเห็ง
  • ยามีละห์ โต๊ะแม
  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาอัตตารีค อุลุลอัซมียฺ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องอุลุลอัซมียฺรายวิชาอัตตารีคสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์คุณภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาอัตตารีคเรื่องอุลุลอัซมียฺโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัตตารีคเรื่องอุลุลอัซมียฺโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  (E-book) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านกระโดจำนวน 19 คน ที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) เรื่องอุลุลอัซมียฺ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัตตารีค จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัตตารีค โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องอุลุลอัซมียฺมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 83.25/85.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัตตารีคโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์    (E-book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาอัตตารีคโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง อุลุลอัซมียฺ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.36, σ=0.10)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤตยา เจริญรุ่งเรือง จงกล แก่นเพิ่ม และศศิฉาย ธนะมัย. (2560). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นิทานพื้นบ้านอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(2): 145-153.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 200 ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.
จินตนา ไชยฤกษ์ ประกอบ ใจมั่น และกรวรรณ สืบสม. (2019). การพัฒนาหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์เสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารนาคบุตร ปริทรรศน์, 11(1): 17-126.
จิระพันธ์ เดมะ. (2545). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Electronic Book. วิทยบริการ, 13(1): 2-7.
จุฑารัตน์ นาคมาลี และ อภิชา แดงจำรูญ. (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book ชุดประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทวีธาภิเศก. งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ.2563 เรื่องนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและสังคม ในยุคดิจิตอล.
นงนุช สลับศรี. (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบการ์ตูนเรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(3): 99-108.
วิไลวรรณ เจือทอง เนติ เฉลยวาเรศ และปกเกศ จุลสุคนธ์. (2562). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาท้องถิ่นของเราชาวลพบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2): 53-66.
แวววิไล จำปาศักดิ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องลักษณะนามกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. (2563). รายงานผลการทดสอบระดับชาติด้านอิสลามศึกษา (I-NET) ปีการศึกษา 2562. เข้าถึงได้จาก : http://ebook.opep.go.th. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.
เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. (2545). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องนวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยเส็งการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite

ลือแบบราเห็ง อ. ., โต๊ะแม ย., & เฮงยามา ม. . (2021). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัตตารีคเรื่องอุลุลอัซมียฺโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย, 2(1), 41–54. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/M-JICI/article/view/250113