การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่องการถือศีลอด โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ฟะห์มี ปูลา สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • อับดุลรอแม สุหลง สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, รายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่องการถือศีลอด, บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การถือศีลอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถือศีลอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการถือศีลอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน ได้ดำเนินการทดลองกับนักเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การถือศีลอด จำนวน 8 บทเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การถือศีลอด เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การถือศีลอด เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t- test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การถือศีลอด เท่ากับ  E1/E2 83.50/84.27 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถือศีลอด มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ( = 25.28,
S.D. = 1.61) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 10.28, S.D. = 2.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การถือศีลอดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.10, S.D. = .49) มีระดับความพึงพอใจระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติมา มากบำรุง. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ซูอัยมี สาเล็ง. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษามลายูกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านอาตะบือเระ. (2563). แบบประเมิน SAR โรงเรียนบ้านอาตะบือเระ. ปีการศึกษา 2563. โรงเรียนบ้านอาตะบือเระ. บาเจาะ นราธิวาส.

ณัฏฐกิตติ์ รัตนบรรยงค์. (2561). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ณัฐวัตร เขียวดี. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ตรีทัศ อรรคบุตร. (2558). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นิศากร แสงสว่าง. (2557). ผลการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษที่เน้นนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนสกลวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปักษ์ คงประเสริฐ. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องอาเซียนศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

มยุรี ปะวันนา. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศิริวรรณ แก้วจรัญ. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิพงศ์ เผื่อนอารีย์. (2561). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

ปูลา ฟ. ., สุหลง อ., & เฮงยามา ม. . (2022). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่องการถือศีลอด โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย, 3(2), 13–26. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/M-JICI/article/view/260024