การออกแบบฉากรูปแบบสัญลักษณ์นิยมในละครสัจนิยม: ละครเวทีเรื่อง Kitchen’s Monologue

ผู้แต่ง

  • คณพศ วิรัตนชัย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

แนวคิดสัญลักษณ์นิยม, การออกแบบฉาก, การออกแบบเพื่อการแสดง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดและวิธีการสร้างสรรค์ฉากละครเวทีโดยนำผลผลงานวิจัยศิลปะการแสดงเรื่อง “Kitchen’s Monologue” ของนิสิตนำมาวิเคราะห์และอภิปรายเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการสร้างสรรค์และออกแบบฉากด้วยรูปแบบสัญลักษณ์นิยมให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการโดยนำเสนอแนวคิดหลักของการออกแบบคือ มนุษย์คนหนึ่งที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่หวั่นว่าสถานการณ์นั้น ภายใต้แก่นเรื่องที่ต้องการนำเสนอ คือ ชีวิตที่สมบูรณ์ อาจไม่สมบูรณ์เสมอไป ผลการดำเนินการสร้างสรรค์พบว่าวิธีการออกแบบฉากรูปแบบสัญลักษณ์นิยม (symbolic set) ในละครสัจนิยม (realism) นิสิตผู้เรียนมีปัญหาในการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างฉากละครเวทีเพื่อสื่อสารกับผู้ชม จึงสรุปแนวทางในใช้สัญลักษณ์การออกแบบเพื่อวิเคราะห์ปัญหาแนวทางพร้อมนำเสนอวิธีการให้สอดคล้องไปตามผู้สร้างสรรค์ต้องการได้ดังนี้คือ การวิเคราะห์บทละคร วิเคราะห์ฉากในบทละคร วิเคราะห์ฉากที่ใช้ในการแสดง เพื่อการรับสารที่ละครเวทีต้องการให้เกิดเป็นภาพปรากฏบนพื้นที่ ผู้สร้างสรรค์เลือกตัดทอนสิ่งที่ไม่สำคัญต่อการแสดงออกโดยเลือกสิ่งที่มีผลต่อตัวละครรวมถึงพื้นที่ที่ตัวละครใช้ที่ทำให้สัญลักษณ์ที่ต้องการสื่อสารสามารถสื่อสารกับผู้ชมได้ โดยอาจเป็นเลือกใช้รูปงานศิลปะ หรือภาพที่สามารถบ่งบอกความต้องการสื่อสารเพื่อค้นหาจินตภาพที่นักออกแบบและผู้กำกับมองเห็นทิศทางการออกแบบที่ต้องการสื่อสารกับผู้ชมให้ไปในทิศทางเดียวกัน และนำไปสร้างสรรค์ตามแนวคิดและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2018