การสืบทอดละครชาตรี : กรณีศึกษาคณะสำเริงศิลป์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุภัทรชัย จีบแก้ว คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ละครชาตรี, การสืบทอด

บทคัดย่อ

ประวัติความเป็นมาของคณะละครชาตรีสำเริงศิลป์ ได้มีจุดเริ่มมาจาก นายมงคล  กองพล และนางจิตจงกล มณเฑียรทอง โดยชื่อคณะว่า สำเริงศิลป์ ตามชื่อของบิดาซึ่งเป็นเจ้าของคณะลิเก สำเริงบันเทิงสุข ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 239/2 หมู่ที่ 11 หมู่บ้านธัญญธานี ตำบลไร่หลักทอง
อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ละครชาตรีคณะสำเริงศิลป์ได้รับการสืบทอดจากมารดาหรือทางสายเลือดในเรื่องศิลปะการแสดง
คณะละครชาตรีมีการปรับเปลี่ยนตามวิถีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากละครชาตรีที่ดำเนินการแสดงเป็นเรื่องยาวๆ ก็ต้องปรับลงให้มีความกระชับรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่เห็นว่าละครแขนงนี้เป็นเรื่องของการแก้บนมากกว่า จึงมีคนน้อยลงทุกวันที่จะมานั่งชมการแสดง   
จากเรื่องยาวก็ตัดทอดลงเป็นเรื่องที่สั้นลง เพิ่มระบำ รำฟ้อน จังหวะที่สนุกสนานเข้าไป เพื่อสร้างความประทับใจกับผู้ชม อีกทั้งยังเป็นการดึงจุดสนใจจากผู้ที่สนใจน้อยหรือไม่สนใจ ให้ชมการแสดงของคณะละคร แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการปรับตัวของคณะละครที่มีที่มาจากละครชาตรีเต็มรูปแบบ ค่อยปรับระดับความเข้มข้นของเนื้อเรื่องเนื้อหาการแสดง สู่การแสดงที่เป็นชุดการแสดงในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผู้ประสงค์ต้องการ หากแต่การปรับรูปแบบการแสดงนี้ยังคงไว้ซึ่งกระบวนท่ารำที่ยึดตามโบราณแบบแผนประเพณี เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ถูกต้อง และการสื่อสารทางวัฒนธรรมที่ดี
ก็ไม่หน้าแปลกอะไร  ที่ละครชาตรีจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นคณะละครรำในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้วยบริบทใดก็ตามการแสดงแขนงนี้จะยังคงอยู่ในพื้นที่ของสังคมไทยต่อไป แต่อาจปรับตามกระแสเพื่อรักษาศิลปะการแสดงแขนงนี้ไว้ชั่วลูกหลาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017