พลวัตของดนตรีแจ๊สในวัฒนธรรมไทย

ผู้แต่ง

  • กมลธรรม เกื้อบุตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ดนตรีแจ๊ส, พลวัตทางดนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแจ๊สในประเทศไทย: บริบททางประวัติศาสตร์และการพัฒนา เป็นการศึกษาทางด้านดนตรีวิทยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อศึกษาพัฒนาการและพลวัตของดนตรีแจ๊สในกระแสวัฒนธรรมไทย ผลการวิจัยพบว่า
พลวัตของดนตรีแจ๊สในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็น 2 ช่วงคือ 1) ช่วงการแพร่กระจาย การยอมรับ และการผสมผสาน มีปัจจัยด้านบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานราชการได้แก่ กรมโฆษณาการ และกองดุริยางค์กองทัพบก เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่ให้ความบันเทิงในภาวะสงคราม และอีกปัจจัยคือพระราชนิยมในดนตรีแจ๊สของรัชกาลที่ 9 ส่งผลให้สามารถถ่ายทอดเพลงแจ๊สสู่ชาวไทยได้บางส่วน 2) ช่วงการพัฒนาและการขับเคลื่อน มีปัจจัยด้านบุคคลทั้งในหน่วยงานรัฐบาล กลุ่มเอกชน สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนขับเคลื่อนดนตรีแจ๊ส มีการเปิดหลักสูตรดนตรีแจ๊สในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นต้น โดยหน่วยงานต่างๆ ได้หมุนเวียนการจัดกิจกรรมเช่น การประกวดแข่งขันดนตรีแจ๊ส การประชุมวิชาการ และการจัดอบรมค่ายเพลงดนตรีให้แก่เยาวชนที่สนใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020