การปรับเปลี่ยนโลกทัศน์และชีวทัศน์ด้วยกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, มิติความเป็นมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เขียนขึ้นมาจากการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ด้วยกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้สำหรับสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์
บทความนี้ผู้เขียนนำเสนอเฉพาะบทเรียนการพัฒนาชุดกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้สำหรับสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้แบบละครร่วมสร้างบนฐานชุมชนบางปะกง และ 2) ชุดการเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์ผ่านบทละครเรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร แต่ละรูปแบบประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนการเรียนรู้ ออกแบบด้วยการบูรณาการความรู้ด้านละครเพื่อการเรียนรู้กับแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้บนฐานชุมชน หลักการสำคัญคือละครจะต้องเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้โลกทัศน์ภายในผ่านการจัดประสบการณ์ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ผู้ออกแบบการเรียนรู้ต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมได้ทำงานกับความเชื่อและมุมมองการใช้ชีวิต ตั้งคำถามกับชุดประสบการณ์เดิมที่มี ทั้งนี้การเรียนรู้ต้องไม่ใช่แค่การรู้คิดแต่ต้องรู้สึกผ่านประสบการณ์ตรงเพื่อยกฐานชีวิตด้วยความรู้สึกอันนำไปสู่การสร้างเสริมลักษณะนิสัยในมิติความเป็นมนุษย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021