การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ระบำโบราณคดีของกรมศิลปากร

ผู้แต่ง

  • นพพล จำเริญทอง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ระบำโบราณคดี, หลักฐานทางประวัติศาสตร์, การสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์รูปแบบระบำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 จากแนวคิดของ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้สร้างระบำโบราณคดีขึ้น 5 ชุดการแสดง คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสนและระบำสุโขทัย ซึ่งได้พบภาพเขียน ภาพปั้น และภาพจำหลักตามโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ทั้งที่พบในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง จึงได้นำมาประกอบแนวคิดประดิษฐ์การแสดงขึ้น ระบำโบราณคดี ที่สร้างขึ้นผ่านขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยความประณีต มีลักษณะทางศิลปะที่มีความลงตัว มีการค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์มาใช้อ้างอิงผสมผสานกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านได้ดังนี้ 1.ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตำรา การลงพื้นที่หาข้อมูล 2. การออกแบบท่ารำ รูปแบบของระบำ สร้างท่าขึ้นใหม่ 3. การออกแบบ เครื่องแต่งกาย สร้างเอกลักษณแตละชุดใหมีความพิเศษตามยุคสมัย 4. การออกแบบดนตรี ประพันธ์ทำนองและสร้างเครื่องดนตรีให้เหมาะสมตามข้อมูล ปัจจัยทั้งสี่ประการเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์รูปแบบระบำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และถือเป็นต้นแบบงานสร้างสรรค์ต่อมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2021