บทประพันธ์เพลงออเรียนทอลฟลาวเวอร์สำหรับบิกแบนด์
คำสำคัญ:
ออเรียนทอลฟลาวเวอร์, บิกแบนด์, บทประพันธ์เพลงบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์ดนตรีแจ๊สบทใหม่ ออเรียนทอลฟลาวเวอร์สำหรับวงบิกแบนด์ โดยเป็นบทประพันธ์เพลงที่มีแนวทำนองหลักมาจากการดัดแปลงทำนองเพลงไทยคำหวาน และเพื่อเผยแพร่บทประพันธ์ออกสู่สาธารณะชนในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
บทประพันธ์เพลงออเรียนทอลฟลาวเวอร์สำหรับบิกแบนด์ เป็นบทประพันธ์เพลงใหม่ที่มีการใช้ทำนองหลักอันเกิดจากการดัดแปลงทำนองเพลงไทยคำหวานในการนำเสนอ รวมถึงใช้เป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนาทำนองส่วนอื่นๆ ใช้มโนทัศน์ของดอกไม้ในการออกแบบโครงสร้างโดยรวมของบทประพันธ์
โดยกำหนดให้ทำนองหลักอยู่ในตอนกลางของบทประพันธ์เพื่อเป็นตัวแทนของเกสรดอกไม้ จากนั้นจึงนำทำนองดังกล่าวมาเป็นแนวคิดสำคัญเพื่อพัฒนา
ทำนองอื่นๆ ในตอนต้นและตอนท้ายของบทประพันธ์ เพื่อเป็นตัวแทนของกลีบดอกไม้ที่ห่อหุ้มเกสรเอาไว้ การสร้างเสียงประสานในตอนต้นและตอนท้ายของ
บทประพันธ์มีแนวคิดสำคัญมาจากการกำหนดกลุ่มโน้ตที่มีความสัมพันธ์คู่สี่-ห้าขึ้น แล้วจึงเติมโน้ตเบสเพิ่มในภายหลังเพื่อสร้างคอร์ดต่างๆ ส่วนเสียงประสานในตอนกลางมีแนวคิดมาจากใช้ความสัมพันธ์ V-I รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อทำให้คอร์ดโทนิกมีความสำคัญและความชัดเจนมากขึ้น แต่มิได้ยึดหลักการ
เสียงประสานเสียงตามแบบแผนอย่างเคร่งครัด
References
ชิ้น ศิลปบรรเลง, คุณหญิง และลิขิต จินดาวัฒน์. (2521). ดนตรีไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2562). ทฤษฏีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
Goldstein, Gill. (1993). Jazz Composer’s Companion. Rottenburg, DE: Advance Music.
Herborn, Peter. (2010). Jazz Arranging Jazz Arrangement. Hechingen, DE: Advance Music.
Kennan, Kent. (1999). Counterpoint, 4thed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Pease, Ted. (2003). Jazz Composition Theory and Practice. Boston: Berklee Press.
Tanner, Paul O. W., Megill, David W., & Gerow, Maurice. (2001). Jazz, 9thed. New York: Mc Graw Hill.