การสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีจากแหล่งโบราณสถาน ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ผู้แต่ง

  • มานิต เทพปฏิมาพร คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ระบำโบราณคดี, ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบระบำจากแหล่งโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู จังหวัดสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารผลงานทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และนาฏศิลป์ไทย การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแหล่งโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย นักโบราณคดี และปราชญ์ชาวบ้านโดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการในการสร้างสรรค์การแสดง ผลการวิจัยพบว่าปราสาทเขาน้อยสีชมพูสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 อ้างอิงจากอักษรบนหลักศิลาจารึกโบราณ และโบราณวัตถุอื่นๆ ได้แก่
ทับหลังศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ศิลปะแบบไพรกเมง ประติมากรรมรูปบุคคล ตุ๊กตาดินเผาสมัยเกาะแกร์ ฐานศิวลึงค์แบบตรีมูรติ และเครื่องสำริด ฯลฯ ผู้วิจัยกำหนดจินตภาพรูปบุคคลอยู่เหนือตัวมกรที่ปรากฎบนทับหลังของปราสาทเขาน้อย แสดงท่าทางการร่ายรำตามหลักฐานที่ปรากฎจากภาพจำหลัก ลายเส้น โครงสร้างของปราสาท โบราณวัตถุ กำหนดโครงสร้างสัญลักษณ์ ในการออกแบบท่าทาง การออกแบบแถวในการแสดงสื่อถึงความเชื่อ ความศรัทธา การบูชาตามหลักศาสนาฮินดูที่กล่าวถึงการสรรเสริญพระวิษณุ ผสมกับหลักแนวคิดของการสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีกรมศิลปากร การออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายใช้หลักการสร้างสรรค์เช่นเดียวกับการออกแบบท่ารำ การสร้างสรรค์กระบวนท่ารำขึ้นใหม่ที่ด้วยการถอดลายจากภาพนูนต่ำ รูปบุคคล ลวดลายที่ปรากฏบนทับหลัง และโบราณวัตถุเป็นผลจากการวิเคราะห์ ตีความและจินตภาพ กระบวนท่ารำเชิงสัญลักษณ์ผ่านการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงปราสาทเขาน้อยสีชมพู

References

กรมศิลปากร. (2533). ปราสาทเขาน้อยสีชมพู จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2553). ศิลปะการออกแบบท่ารำ นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัทบพิธการพิมพ์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2554). ระบำชุดโบราณคดี. หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลงศพนางใบศรี แสงอนันต์ วันที่ 24 กรกฎาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัทไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.

พรเทพ บุญจันทร์เพชร. (2549). ระบำโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2561). นาฏยวิเคราะห์.:ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สถาบันนาฏดุริยางค์ศาสตร์. (2542). วิพิธทัศนา พร้อมคำอธิบายชุดการแสดงและภาพประกอบ. กรุงเทพฯ: บริษัทเซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปากร. (2532). ปราสาทเขาน้อยสีชมพู จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรการเกษตรแห่งประเทศไทย

ฤทธิรงศ์ จิวากานนท์. (2557). ศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีสมัยใหม่.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. ราชบัณฑิตสาขานาฏกรรมไทย. (10 สิงหาคม 2564). สัมภาษณ์.

พูนสวัสดิ์ จันทราวุติ. อาจารย์ใหญ่โรงเรียน อพป.คลองน้ำไส. (27 กรกฎาคม 2564). สัมภาษณ์.

ผ่อง เกตุสอน. ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. (27 กรกฎาคม 2564). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022