การสร้างชุดการสอนโน้ตเพลงไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่
คำสำคัญ:
ชุดการสอน, ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพของชุด การสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาเอกดนตรีตะวันตก 10 คน ที่สมัครใจเรียน โดยมี เกณฑ์การคัดเลือกคือ ผู้เรียนที่ผ่านรายวิชา ดยช.202 ปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย และผ่านรายวิชา ดยก. 103 การอ่าน ฟัง เขียน 1 ในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอนคาบละ 60 นาที รวมทั้งหมด 9 คาบเรียน โดยจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2564 โดยใช้วิทยาลัยดุริยศิลป์มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือครูและคู่มือผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ซึ่งผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้จากการใช้ชุดการสอนโน้ตเพลงไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่จะมีผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80/80
เมื่อนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนทดสอบ ระหว่างเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ใช้ชุดการสอนโน้ตดนตรีไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีดนตรีไทยใหม่ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.88/81.19 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
References
ชนิตร ภู่กาญจน์. (2544). แก่นแท้ดนตรีไทย. บรรพกิจ.
พนัส ต้องการพานิช. (2561) ชุดการสอนโน้ตเพลงและการใช้ดนตรีประกอบเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนเครื่องกระทบ. วารสารดนตรีรังสิต, 13(2), 31-44.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์ (2558) การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของโคดาย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 68-79.
บุญสืบ บุญเกิด และสุรศักดิ์ เพชรคงทอง. (2559). ประวัติการบันทึกโน้ตดนตรีไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 68-85.
อนันต์ ศรีโสภา. (2525). การวัดและการประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.