การวิเคราะห์และตีความบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของเบโทเฟนสำหรับวงฮาร์โมนี

ผู้แต่ง

  • วรพล รัตนอำพล สาขาวิชาดนตรี ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
  • ภาวไล ตันจันทร์พงศ์ สาขาวิชาดนตรี ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)

คำสำคัญ:

ฮาร์โมนี, ฮาร์โมนีมูซีค, ดนตรีเครื่องลมในศตวรรษที่ 18–19, เบโทเฟน, ซิมโฟนีหมายเลข 7

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์และตีความบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน สำหรับวงฮาร์โมนี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตีความบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ฉบับเรียบเรียงสำหรับวงฮาร์โมนี ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1816 โดยไม่มีหลักฐานที่ระบุชื่อผู้เรียบเรียง ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตในการวิจัย 3 หัวข้อ ได้แก่ 1) ภาพรวมของบทเพลง ประกอบด้วย สังคีตลักษณ์ อัตราความเร็ว เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง และอัตราจังหวะ 2) องค์ประกอบทางดนตรีที่สำคัญ ประกอบด้วย โครงสร้างสังคีตลักษณ์ แนวทำนองและเสียงประสาน และ 3) ลักษณะการเรียบเรียงบทเพลง

ผลการศึกษาพบว่า บทเพลงฉบับสำหรับวงฮาร์โมนีใช้กุญแจเสียงหลัก และโครงสร้างสังคีตลักษณ์ต่างจากบทเพลงต้นฉบับที่เบโทเฟนประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา โดยบทเพลงฉบับนี้อยู่ในกุญแจเสียง G major ประกอบด้วย 4 ท่อน ได้แก่ ท่อน 1 อยู่ในสังคีตลักษณ์โซนาตา ในกุญแจเสียง G major ท่อนที่ 2 อยู่ในสังคีตลักษณ์รอนโดห้าตอน ในกุญแจเสียง G minor ท่อนที่ 3 อยู่ในสังคีตลักษณ์สามตอนแบบสแกร์ตโซทรีโอ ในกุญแจเสียง F major และท่อนที่ 4 อยู่ในสังคีตลักษณ์โซนาตินา ในกุญแจเสียง G major ซึ่งบทเพลงฉบับนี้เรียบเรียงโดยอิงแนวเครื่องลมส่วนใหญ่ให้ใกล้เคียงกับโน้ตต้นฉบับสำหรับวงออร์เคสตรา แต่เนื่องจากวงฮาร์โมนีไม่มีแนวฟลูต และทรัมเป็ต รวมถึงกลุ่มเครื่องสาย ผู้เรียบเรียงจึงได้เรียบเรียงบทเพลงโดยมักใช้โอโบแทนในแนวฟลูต ใช้ฮอร์นแทนแนวทรัมเป็ต รวมถึงใช้คลาริเน็ตและโอโบแทนแนวไวโอลิน และใช้บาสซูนและคอนตราบาสซูนแทนแนววิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส

References

Battisti, F. L. (2007). On Becoming a Conductor: Lessons and Meditations on the Art of Conducting. U.S.A.: Meredith Music Publications.

Grove, G. C. B. (2016). Beethoven and His Nine Symphony (3rd ed.). New York: Dover Publications.

Habla, B. (2005). Historical Opera Transcriptions for Harmoniemusik. Paper presented at the 2005 Midwest Band & Orchestra Clinic, Chicago, Illinois.

Hunsberger, D., & Ernst, R. E. (1992). The Art of Conducting (2nd ed.). U.S.A.: McGraw-Hill, Inc.

Lockwood, L. (2017). Beethoven Symphony an Artistic Version. U.S.A.: W. W. Norton & Company Ltd.

Rhodes, S. (2007). Retrieved June 3, 2021 from https://ww2.lipscomb.edu/windbandhistory/rhodeswindband_04_classical.htm

Ross, A. M. (2015). A Guide to Arranging Late Eightrrnth and Early Nineteenth Century Harmoniemusik in an Historical Style. (Doctor of Musical Arts). University of North Texas, U.S.A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024