แนวคิดและกลวิธีการบันทึกเสียงวงปี่พาทย์ กรณีศึกษาอาจารย์ประทีป เจตนากูล

ผู้แต่ง

  • กฤษฏิพัฒน์ พลเยี่ยม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธรณัส หินอ่อน สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บันทึกเสียง, ดนตรีไทย, วงปี่พาทย์, อาจารย์ประทีป เจตนากูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวคิดและกลวิธีการบันทึกเสียงดนตรีไทย กรณีศึกษาอาจารย์ประทีป เจตนากูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบันทึกเสียงวงดนตรีไทย โดยศึกษาจากแนวคิดและกลวิธีของอาจารย์ประทีป เจตนากูล ในโครงการจัดเก็บเพลงไทยเดิมตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กระบวนการบันทึกเสียงจากการบรรเลงโดยสำนักดนตรีไทยพาทยรัตน์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยการบันทึกเสียงวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พบว่า 1) กระบวนการบันทึกเสียงมีการจัดการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างละเอียด จากต้นกำเนิดเสียงไปจนถึงระบบจัดเก็บคลื่นเสียงโดยสมบูรณ์ 2) การนำกลวิธีและทฤษฎีการบันทึกเสียงมาตรฐานสากล มาปรับและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเครื่องบรรเลงในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ทำให้ได้เสียงตรงตามลักษณะระบบเสียงไทยและได้คุณภาพของเสียงที่สมบูรณ์

References

เจน สงสมพันธุ์. (2559). การบันทึกเสียง Creative Recording. ปทุมธานี: สถาบันอิเล็กทรอนิกส์ กรุงเทพรังสิต.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2540). ลำนำแห่งสยาม. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิตยสาร Hi fi Stereo.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024