วิเคราะห์เพลงตอกคาตาจากเพลงชุดปูร์เลอปิยาโนของโคลดเดอบุสซี ตามหลักวิเคราะห์ของเฟลิกซ์ ซาลเซอร์

ผู้แต่ง

  • พลพันธุ์ กุลกิตติยานนท์ สาขาทฤษฎีดนตรี วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ตอกคาตา, ปูร์เลอปิยาโน, กราฟแนวเสียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์บทเพลงตอกคาตา ในเพลงชุดปูร์เลอปิยาโน ประพันธ์โดยโคลด เดอบุสซี โดยผู้วิจัยได้นำวิธีการวิเคราะห์ ของเฟลิกซ์ ซาลเซอร์ มาใช้อธิบายถึงโครงสร้างระดับต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างระดับพื้นฐานไปยังโครงสร้างระดับกลาง รวมถึงรายละเอียดที่สำคัญต่าง ๆ ผลวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างพื้นฐานของเพลงมีโน้ต C# เป็นศูนย์กลางเสียง โน้ต C# ถูกขยายความออกเป็นทำนองแนวเบส C#-C- C# โครงสร้างเสียงประสาน คือคอร์ด C#m-C- C# มีพื้นฐานจากทำนองสอดประสาน รูปแบบสังคีตลักษณ์มิติใหญ่เป็นดนตรี 3 ตอน โดยมีรูปแบบย่อยซ่อนอยู่ภายใน มีลักษณะเป็นรอนโด 7 ตอน หลังจากพิจารณาลดรูปโน้ตลง เปิดเผยให้เห็นว่าเดอบุสซีได้ใช้กลุ่มเสียงต่าง ๆ เช่น โมดลิเดียน โมดมิกโซลิเดียน กลุ่มเสียงโฮลโทน คอร์ดคู่ 4 เรียงซ้อน และกลุ่มเสียงทรัยโทน เป็นต้น เพื่อสร้างสำเนียงใหม่ ๆ ให้กับบทเพลงตอกคาตา ท่ามกลางสำเนียงดนตรีแบบใหม่ ผู้ประพันธ์ได้ซ่อนโครงสร้างระดับกลางของเพลง ที่ยังคงรูปแบบของเสียงประสานแบบประเพณีดั้งเดิมเอาไว้อย่างแยบยล

References

จุฬมณี สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2565). ดนตรีตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: อัพบีทครีเอชั่น

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เกศกะรัต.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ดนตรีศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัชชา เอกพิริยะ และปานใจ จุฬาพันธุ์. (2565). การตีความและลีลาการบรรเลงบทเพลงบัลลาดของเดอบุสซี. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 137-149.

Brown, M. (1989). A Rational Reconstruction of Schenkerian theory. (Doctoral dissertation). Cornell University, New York.

Kamien, R. (2004). Music: An Appreciation. (8th edition). New York: McGraw-Hill.

Paesaroch, P. (2022). Claude Debussy’s Pour le piano (1901): A Performer's Guide

Pankhurst, T. (2008). Schenker Guide: A Brief Handbook and Website for Schenkerian Analysis. New York: Routledge.

Salzer, F. (1962). Structural Hearing Tonal Coherence in Music. New York: Dover Publication.

Song, H. S. (2011). A Study of Selected Piano Toccatas in the Twentieth Century: A Performance Guide (Doctoral dissertation). Retrieved from http://diginole.lib.fsu.edu/islandora/object/fsu:176133/datastream/PDF/view

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024