แนวทางการพัฒนาสำนักงบประมาณของรัฐสภาประเทศไทยตามคำแนะนำขององค์กรเครือข่ายสำนักงบประมาณของรัฐสภาทั่วโลกและองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

ผู้แต่ง

  • สถาพร เรืองสังข์ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาโท, หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200, satapornraungsang@gmail.com

คำสำคัญ:

สำนักงบประมาณของรัฐสภาไทย, องค์กรเครือข่ายสำนักงบประมาณของรัฐสภาทั่วโลก, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

บทคัดย่อ

สำนักงบประมาณของรัฐสภาไทย เป็นหน่วยงานที่มีสถานะทางกฎหมายระดับสำนัก ไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่ใช่ส่วนราชการ อยู่ในสังกัดของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภาเป็นหัวหน้าส่วนราชการภายในระดับสำนัก หน้าที่หลักของสำนักงบประมาณของรัฐสภาไทย คือ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารเงินแผ่นดินของรัฐบาลต่อรัฐสภาเพื่อใช้ในการควบคุมตรวจสอบการบริหารเงินแผ่นดินของรัฐบาล สำนักงบประมาณของรัฐสภาไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบันได้เปิดทำการมาเป็นระยะเวลา 9 ปีแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า ควรมีการพัฒนาสถานะและโครงสร้างทางกฎหมาย อำนาจหน้าที่ การสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากร รวมทั้งการบริหารงบประมาณและทรัพยากรของสำนักงบประมาณไทยเสียใหม่ตามคำแนะนำขององค์กรเครือข่ายสำนักงบประมาณของรัฐสภาทั่วโลก (GN-PBO) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของหน่วยงานที่มีลักษณะเดียวกันกับสำนักงบประมาณของรัฐสภาไทยในประเทศต่าง ๆ และคำแนะนำขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ อันจะทำให้ภาพลักษณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงบประมาณของรัฐสภาไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอแนวทางการพัฒนาสถานะและโครงสร้างทางกฎหมาย อำนาจหน้าที่ การสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากร รวมทั้งการบริหารงบประมาณและทรัพยากรของสำนักงบประมาณของรัฐสภาไทยตามคำแนะนำดังกล่าวให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้สำนักงบประมาณของรัฐสภาไทย มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารเงินแผ่นดินของรัฐบาลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มขึ้นตามยุคสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับหน่วยงานที่มีลักษณะอย่างเดียวกันในประเทศอื่น ๆ และมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

References

ชูเกียรติ รักบำเหน็จ. (2559) บทบาทของสำนักงบประมาณในการสนับสนุนการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีของฝ่ายนิติบัญญัติ. (รายงานวิชาการส่วนบุคคล). หลักสูตรการพัฒนานักบริหารระดับสูงสำหรับข้าราชการรัฐสภา รุ่นที่ 9 สถาบันพระปกเกล้า.

ณิชา รักจ้อย. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการงานวิชาการด้านการงบประมาณของสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (รายงานวิชาการส่วนบุคคลหลักสูตรการพัฒนานักบริหารระดับสูงสำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญ รุ่นที่ 12). สถาบันพระปกเกล้า.

ธีรพัฒน์ พิเชฐวงศ์. (2557). มาตรการทางกฎหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการอนุมัติงบประมาณแผ่นดินของรัฐสภา (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2556

ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายใน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563.

ปิยรัตน์ เมญารศิลป์. (2559). แนวทางในการพัฒนาการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ของสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (รายงานวิชาการส่วนบุคคลหลักสูตรการพัฒนานัก บริหารระดับสูงสำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญ รุ่นที่ 9). สถาบันพระปกเกล้า.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554

สมชัย จิตสุชน. (2559). สถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภา: ความคาดหวังในการควบคุมวินัยการเงินการคลังของฝ่ายบริหาร. จุลนิติ, 21.

สุทธิมาตร จันทร์แดง. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554. จุลนิติ, 120-124.

สุทธิมาตร จันทร์แดง. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554. จุลนิติ, 110-112.

สุปรียา แก้วละเอียด. (2560). กฎหมายงบประมาณของต่างประเทศ: ข้อคิดและประสบการณ์ของประเทศ สหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุปรียา แก้วละเอียด. (2561) เหลียวหลัง....แลหน้า....สำนักงบประมาณของไทย. ใน สุปรียา แก้วละเอียด (บรรณาธิการ). อาจาริยบูชา 80 ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุปรียา แก้วละเอียด. (2563). สำนักงบประมาณของรัฐสภากับบทบาทของการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย. ใน มุนินทร์ พงศาปาน และคณะ (บรรณาธิการ). รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อธิภัทร มุทิตาเจริญ. (2558). รายงานการศึกษาโครงสร้างองค์กรสถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภา (PBO) โครงการส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภา (รายงานผลการวิจัย). คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Global Network of Parliamentary Budget Offices. (2015). Guideline for Operationalizing a Parliamentary Budget Office. Annual Meeting of Global Network of Parliamentary Budget Offices.

OECD Network of Parliamentary Budget Officials and Independent Fiscal Institutions. (2014). Recommendation of the Council on Principles for Independent Fiscal Institutions.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30