อิทธิพลวัฒนธรรมกระแสนิยมและบุคคลอ้างอิงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเซิร์ฟสเก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทเซิร์ฟสเก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลวัฒนธรรมกระแสนิยม และบุคคลอ้างอิงที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า และการซื้อเซิร์ฟสเก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเคยเล่นเซิร์ฟสเก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 363 คน โดยมีตัวแปรในสมการเชิงโครงสร้าง ได้แก่ วัฒนธรรมกระแสความนิยม บุคคลอ้างอิง การตระหนักรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง PLS
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 363 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานภาพโสด มีอายุ 21–30 ปี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 10,001–20,000 บาท ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรี ในด้านลักษณะพฤติกรรมการซื้อเซิร์ฟสเก็ต ส่วนใหญ่ซื้อในราคา 3,001–5,000 บาท โดยซื้อเซิร์ฟสเก็ตมาจากหน้าร้าน และนำไปเล่นกับกลุ่มเซิร์ฟสเก็ต โดยครอบครัวเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อเซิร์ฟสเก็ต จากสมการเชิงโครงสร้างพบว่า วัฒนธรรมกระแสนิยมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตระหนักรู้ตราสินค้า บุคคลอ้างอิงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตระหนักรู้ตราสินค้าและการตัดสินใจซื้อเซิร์ฟสเก็ต การตระหนักรู้สินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเซิร์ฟสเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่วัฒนธรรมกระแสนิยมไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเซิร์ฟสเก็ต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ นักศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาบริหารธุรกิจและภาษา ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจาก กองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณอาริสา จิระเวชถาวร (02) 763-2600 Ext. 2704 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JBAL@tni.ac.th
References
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. New York, NY: The Free Press.
Agung, N. F. A., Darma, G. S., & Mahyuni, L. P. (2021). Does influencer marketing really improve sustainable brand awareness and sales?. Inovbiz: Jurnal Inovasi Bisnis, 9(1), 167–174.
Bangkok Bank. (2021, June 3). Why is 'Surf Skate' so popular? in Thailand. (in Thai). Retrieved from https://www.bangkokbanksme.com/en/do-you-get-to-know-surf-skate
Chattayaporn Samerjai. (2007) Consumer Behavior. (in Thai). Bangkok: SE-Education.
Chayuntorn Chaimool. (2021, February 14). Decipher trend of Surfskate: Why very popular in Thais? [Web log post]. (in Thai). Retrieved from https://www.blockdit.com/posts/6028b9f77218e50bb053570f
Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98–104.
Economics Tourism and Sports Division. (2020). Tourism Economic Review (Report Vol. 1 No. 4 July – December 2021). (in Thai). Retrieved from https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf
Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39–50.
Hair, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C. M., & Mena, J. A. (2012). An assessment of the use of partial least squares structural equation modeling in marketing research. Journal of the Academy of Marketing Science, 40(3), 414–433.
Hawkins, D. I., Best, R. J., & Coney, K. A. (1998). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (7th ed.). Boston, MA: McGraw-Hill.
Ismail, A. R., Nguyen, B., & Melewar, T. C. (2018). Impact of perceived social media marketing activities on brand and value consciousness: Roles of usage, materialism and conspicuous consumption. International Journal of Internet Marketing and Advertising, 12(3), 233–254.
Keller, K. L. (2008). Strategic Brand Management: Building, Measuring and Managing Brand Equity (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Khraim, H. S. (2018). The influence of price, status consumption and reference groups on consumer attitude to purchase counterfeit sport products in UAE. Irish Business Journal, 11(1), 7–23.
Kiumarsi, S., Jayaraman, K., & Mohd Isa, S. (2015). Service quality and innovation in Malaysian post offices: An empirical study. Global Business and Organizational Excellence, 35(1), 55–66.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management, Global Edition (15th ed.). Harlow, England: Pearson Education.
Matichon Online. (2021, February 24). Ready, Set, Go! 'Surf Skate' has become highly popular, stars and celebrities surf skated. (in Thai). Matichon Online. Retrieved from https://www.matichon.co.th/lifestyle/social-women/news_2599395
Mowen, J. C. & Minor, M. (1998). Consumer Behavior (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Pornpan Pornsiriprasert. (2012). The influences of demographic factors and Korean artists as a referent group on buying behavior toward cosmetics of consumers in Bangkok metropolis (in Thai). (Master’s thesis). Retrieved from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Pornpan_P.pdf
Williams, R. (2001). Culture is ordinary. Oxford, UK: Blackwell
Williams, R. (2009). Part Two: Culturalism, 4. The Analysis of Culture Raymond Williams. In J. Storey (Ed.). Cultural Theory and Popular Culture: A Reader (pp. 32–40), Harlow, England: Pearson Education.
Sarstedt, M., Ringle, C. M., & Hair, J. E. (2017). Partial least squares structural equation modeling. In C. Homburg, M. Klarmann, & A. Vomberg (Eds.), Handbook of Marketing Research (pp. 1–40), Cham, Germany: Springer.
Sasiprapa Phanthanasaewee. (2016). Korean popular culture and purchase decision about diet and beauty supplement products for female consumers in Bangkok. (in Thai). Suthiparithat, 30(96), 146–157.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginnerr’s Guide to Structural Equation Modeling: SEM. London, England: Lawrence Erlbaum Associates.
Storey, J. (2001). Adding Value through Information and Consultation. London, England: Palgrave Macmillan.
Laluyan, W. N., Pangemanan, S. S., & Worang, F. G. (2017). The effect of advertising, perceived quality and brand awareness on consumer purchase intention (Case study: Adidas sport shoes). Journal EMBA, 5(2), 267–278.
Zikmund, W. G., & Babin, B. J. (2010). Essentials of Marketing Research (4th ed.). Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
Witawat Rungruangphon. (2010). Principles of Marketing (6th ed.). (in Thai). Bangkok: Thammasat University.