การนำ Swim Lane Diagram มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ

Main Article Content

ณัฏฐวีร์ อินทรเกษม
ยุรพร ศุทธรัตน์
พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลจากการศึกษาและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจของสินค้าวัสดุปิดผิวไฮกลอสของบริษัทตัวอย่าง โดยประยุกต์ใช้ Swim Lane Diagram เป็นเครื่องมือในการสำรวจและวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจในปัจจุบัน ทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ผ่านแนวคิดด้านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (CPI) และแนวคิดด้านการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ (BPI) เพื่อปรับปรุงกิจกรรมในกระบวนการ โดยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการทางธุรกิจพบว่า  มีปัญหาลำดับของกิจกรรมไม่เหมาะสมทำให้ตอบสนองลูกค้าได้ช้าและไม่สามารถควบคุมการผลิตให้ได้ตามแผนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพทั้งวัตถุดิบและสินค้าที่ผลิตเสร็จไม่มีประสิทธิภาพ และการทำงานในกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก ผลจากการปรับปรุงพบว่า กิจกรรมภายในกระบวนการทางธุรกิจ ลดลงจาก 23 กิจกรรมเหลือ 17 กิจกรรม ระยะเวลาการตรวจสอบวัตถุดิบลดลง 42.89% และระยะเวลาการตรวจสอบสินค้าที่ผลิตเสร็จ (ประกันคุณภาพ) ลดลง 33.33% นอกจากนี้ของเสียจากกระบวนการผลิตลดลงจาก 11.15% เป็น 0%  ซึ่งทำให้บริษัทตัวอย่างสามารถลดต้นทุนได้ถึง 463,633 บาท/ปี หรือ 38,636 บาท/เดือน หรือคิดเป็นประมาณ 19.83 % จากปีก่อนหน้านี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

R. Seethamraju, “Business process management: a missing link in business education,” Business Process Management Journal, vol. 18, no. 3, pp. 532–547, Jun. 2012.

S. Umit Firat et al., “Managerial processes: business process that sustain performance,” International Journal of Operations & Production Management, vol. 31, no. 8, pp. 851–891, Jul. 2011.

C. Rodmorn, “An analysis of a business process in an information management system for Production planning: a case study of a metal Products manufacturer,” Master’s thesis (Technology of information system management), Mahidol university, Nakhon Pathom, Thailand, 2010.

A. Fleischmann and C. Stary, “Whom to talk to? A stakeholder perspective on business process development,” Universal Access in the Information Society, vol. 11, no. 2, pp. 125–150, Jun. 2012.

E. P. Ezeonwumelu, S. Ozuomba, and K. Constance, “Development of swim lane workflow process map for enterprise workflow management information system (wfmis) : a case study of comsystem computer and telecommunication ltd (cctl) eket,” European Journal of Engineering and Technology, vol. 3, no. 9, 2015.

W. E. Deming, Out of the crisis. Cambridge, Mass.: Massachusetts Institute of Technology, Center for Advanced Engineering Study, 1986.

S. Page, The power of business process improvement: 10 simple steps to increase effectiveness, efficiency, and adaptability, 2nd ed. New York: AMACOM, 2015.

G. E. Kalb and G. M. Masson, “Continuous Process Improvement and the Risk to Information Assurance,” Journal IEEE Software, vol. 19, no. 1, pp.84–86, Jan. 2002.

เดวิด. แมนน์, จากวัฒนธรรมแบบโตโยต้าสู่วัฒนธรรมแบบลีน. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์, 2551.

J. P. Womack and D. T. Jones, Lean Thinking : Banish Waste And Create Wealth In Your Corporation. New York: Free Press, 2003.