การประเมินระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของ ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคคนไทย และประเมินระดับ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้ RATER (Reliability, Assurance, Tangibles, Empathy, Responsiveness) ที่เป็นโมเดลของการประเมินคุณภาพของการบริการ ต่อ 3 มุมมอง 3P ได้แก่ การบริการของพนักงาน (People) ระบบของการบริการ (Process) และ สภาพแวดล้อมที่เป็นภายภาพ (Physical Evidence) เพื่อหาจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาการบริการของร้านอาหารในประเทศไทย และเพื่อนำไปเป็นโมเดลสำหรับการพัฒนาคุณภาพการบริการของร้านอาหารอื่นๆ ในประเทศไทย
รูปแบบการวิจัย เป็นการเก็บแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการ ได้จำนวน 478 ตัวอย่างจากผู้ใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น ในศูนย์การค้า และแหล่งที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นอยู่มากในเขตกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้ในการประมวลและวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ t-test และ F-test ในการวิเคราะห์นั้น ได้ใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และได้มีการทำ Focus Group เชิงพรรณนา
จากผลการศึกษา พบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามแยกตามรายได้ โดยรวมทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการบริการของพนักงานในระดับมาก ต่อระบบการบริการในระดับมาก ต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมาก 2. ผู้ตอบแบบสอบถามแยกตามประสบการณ์เคยไปญี่ปุ่น ผู้มีประสบการณ์พอใจ ทั้งการบริการของพนักงาน ระบบการบริการ สิ่งแวดล้อมในระดับมาก ในขณะที่ผู้ไม่มีประสบการณ์พอใจการบริการของพนักงาน และ สิ่งแวดล้อมในระดับมาก แต่พอใจต่อระบบบริการ ในระดับปานกลาง 3. ผู้ตอบแบบสอบถามแยกตามความถี่ในการใช้บริการ ทุกกลุ่ม มีความพึงพอใจ ทั้งสามด้านในระดับมาก 4. ผู้ตอบแบบสอบถามแยกตามค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ทุกกลุ่ม มีความพึงพอใจทั้งสามด้านในระดับมาก แต่จากการทำ Focus Group กลับพบว่า ทั้ง 3 ด้านของระบบการบริการคือบุคลากร ระบบ และสภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ยังไม่สามารถเทียบได้กับการบริการในญี่ปุ่น ซึ่งมีความส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมาก
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ นักศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาบริหารธุรกิจและภาษา ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจาก กองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณอาริสา จิระเวชถาวร (02) 763-2600 Ext. 2704 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JBAL@tni.ac.th
References
Chaichumpol Chawprasert. (2009). Service marketing (9th ed.). (In Thai). Bangkok: SE-Education.
Emel Kursunlouglu Yarimoglu. (2014). A review on dimension of service quality mode. Journal of Marketing Management, 2(2), June 2014, 79-93.
Kotler, Philip and Keller, Kevin Lane. (2006). Marketing management (12th ed.). United States: Prentice Hall.
Krittha Thruvichien & Nantasaree Sukto. (2017). Factors affecting consumer demand for using Japanese restaurants at Central World. (In Thai). Dhurakij Pundit Graduate School Journal, 5(3), April-July 2017, 1-7.
Lovelock and Wright, (Christopher Lovelock and Lauren Wright). (2003). Principle of service marketing and management, United States: Prentice Hall.
Manager Online. (2019, September 18). The survey of market growth for Japanese restaurants in Thailand. Manager Online. (In Thai). Retrieved from https://mgronline.com/business/detail/9620000088882
Masami Tajima. (2015). Differentiation strategy which is core of Omtenashi. Franchise Advantage Corp. Retrieved from http://www.franchising.co.jp/about/index-e.html
Nattapon Jumgumjorn and Chutimawadee Thongjeen. (2016). The influence of the service marketing mix, service quality, brand image affect decision making about choosing Japanese buffet restaurants in Bangkok. (In Thai). (Master's thesis, Bangkok University, Bangkok, Thailand). Retrieved from http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/ 123456789/2216
Organization to Promote Japanese Restaurants Abroad-JRO. (March 2015). Chefs Compete Live in Umami Recipe Contest at the 2014 International Restaurant & Foodservice Show for an Exclusive Culinary Tour of Japan. Retrieved from https://www.prnewswire.com/news-releases/chefs-compete-live-in-umami-recipe-contest-at-the-2014-international-restaurant--foodservice-show-for-an-exclusive-culinary-tour-of-japan-248205691.html
Pawat Wannapin. (2012). Quality assessment of services of the True Coffee branches at universities. (In Thai). (Master's thesis, Bangkok University, Bangkok, Thailand).
Ruksikarn Wisetsee. (2011). Customer's astisfaction on service at miyabi Japanese restaurant. (In Thai). (Master's thesis, Thai-Nichi Institute of Technology, Bangkok, Thailand).
Tourism Authority of Thailand Intelligence Center. (2015). International tourism situation. Ranking of foreign tourists traveling to Thailand Retrieved from https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/24462
Yamane, Taro. (1973). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Zeithaml Valarie A., Parasuraman A., and Berry Leonard. (1990). Delivery quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: Free Press.