ความผาสุก และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาคเอกชน เขตพื้นที่ชะอำ และหัวหิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาคเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาคเอกชน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผาสุก และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาคเอกชนเขตพื้นที่ชะอำ และหัวหิน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรจากองค์กรภาคเอกชนเขตพื้นที่ชะอำ และหัวหิน เช่น โรงแรม รีสอร์ท ศูนย์การค้า และร้านค้า รวมทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค – สแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรภาคเอกชน ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรหญิง มีตำแหน่งเป็นพนักงาน มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือนที่ 15,001 - 25,000 บาท มีอายุงาน 1 - 5 ปี มีความผาสุกจากการทำงานภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีความผูกพันต่อองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอายุงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ ความผาสุก ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านการติดต่อสัมพันธ์ 2) ด้านความรักในงาน 3) ด้านความสำเร็จในงาน และ 4) ด้านการเป็นที่ยอมรับ มีความสัมพันธ์กับ ความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับมาก มีขนาด 0.765 และ ความผาสุก ทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของ ความผูกพันต่อองค์กร ได้ร้อยละ 57.20
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ นักศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาบริหารธุรกิจและภาษา ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจาก กองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณอาริสา จิระเวชถาวร (02) 763-2600 Ext. 2704 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JBAL@tni.ac.th
References
Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546. doi:10.2307/2391809
Cochran, W. G. (1963). Sampling technique (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.
Elizur, D., & Sagie, A. (1994). Facets of human values: Definition and structure of work values and general life values. (WORC Paper). WORC, Work and Organization Research Centre.
Greenberg, J., & Baron, R.A. (1993). Behavior in organization: Understanding and managing the human side of work. (4th ed.). Boston: Allyn & Baron.
Krishnan, V. R. (2005). Leader-member exchange, transformational leadership, and Value system. Electronic Journal of Business Ethics and Organization Studies, 10(1), 14-29.
Manion, J. (2003). Joy at work!: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration. 33(12), 652-659.
Meyer, J. P., Allen, N. J., & Smith, C. A. (1993). Commitment to organizations and occupations: Extension and test of a three-component conceptualization. Journal of Applied Psychology, 78(4), 538–551.
Miner, J. B. (1992). Industrial – organization psychology. New York: The State University of New York at Buffalo.
Morrison, R. S., Jones, L., & Fuller, B. (1997). The relation between leadership style and empowerment on Job satisfaction of nurses. Journal of Nursing Administration, 27(5), 27-34.
Porter, L. W. (1974). Organizational commitment, job satisfaction and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59(12), 603-609.
Somers, M. J. (1995). Organizational commitment, turnover and absenteeism: An examination of direct and Interaction effects. Journal of Organizational Behavior, 16(1), 49-58.