การอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ (ผลสัมฤทธิ์) ของนักศึกษาหลังเรียนรู้โดยการใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการอ่านภาษาจีน 2 และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) บทอ่านนอกเวลา (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน (3) แบบสรุปใจความสำคัญโดยใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุม และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test (Paired- Sample t-test) และนำข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุมมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำคัญหลังการใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุมของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 2) นักศึกษามีความเห็นต่อการจัดการเรียนโดยใช้แผนผังมโนทัศน์แบบใยแมงมุมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำคัญระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ ด้านเนื้อหาบทอ่านนอกเวลา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านคุณประโยชน์ มีค่าผลเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้านเท่ากับ 4.54
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ นักศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาบริหารธุรกิจและภาษา ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจาก กองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณอาริสา จิระเวชถาวร (02) 763-2600 Ext. 2704 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JBAL@tni.ac.th
References
Alongkorn Simla. (2018). The use of concept mapping to enhance reading comprehension for Pratom Sixth Students. (in Thai). (Master’s thesis, Silpakorn University). Retrieved form http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1465/1/57254315.pdf
Jiraporn Noosawas. (n.d.). Reading and reading promotion [PowerPoint slides]. Retrieved form http://human-elearning.bsru.ac.th/
Kannika Supich & Santi Wijakkanalan. (2019). Graphic organizers : Effective learning tool. (in Thai). Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, 11(2), 19–39.
Morakot Kornthong & Watsatree Diteeyont. (2020). Using concept mapping technique with Google search to promoting analytical thinking for 9th student graders at Watraikhing wittaya school. (in Thai). Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 3(9), 62–73.
Office of the Royal Society. (2011). The Royal Institute's Dictionary B.E. 2554 (online version of the 2011 ed.). Retrieved form https://dictionary.orst.go.th/
Pachongkarn Phuvipadawat. (1997). Techniques for teaching reading English at the secondary level. (in Thai). Unpublished manuscript, Faculty of Education, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
Patcharee Junpheng. (2013). Evaluation of learning outcomes according to the TQF standard framework. Retrieved from https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/221156-2.1.pdf
Pichai Kaewbut. (2021). Teaching - learning management that focuses on the task based learning case study “Inspect and Check Immigrants’ Activity” for the 3rd year students Prince of Songkla University, Surat Thani Campus. (in Thai). Manutsayasart Wichakan, 28(2), 412–441.
Pinnaporn Kongtan, Anchana Thongkrajai, & Ma, H. (2018). The development of the phonic reading skill of Mandarin Chinese for first-year, Chinese curriculum, the faculty of humanities and social sciences, Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai). Retrieved from http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1632636023.pdf
Sornnate Areesophonpichet. (2014). Instructional strategy for develop of analytical thinking skills: The concept mapping. (in Thai). Journal of Education Studies, 42(3), 194–210.
Wanintorn Supap. (2018). Concept mapping : Useful tool for mathematics education in 21st century. (in Thai). Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 8(14), 1–14.
Wanutchaphorn Puengprom & Kanyarat Cojorn. (2018). The development of learning activity package in reading comprehension skills based-on brain based learning approach for Mattayomsuksa 1 students. (in Thai). Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 5(1), 93–110.
Wattanakarn Kaewmanee. (2019). The development of creative writing in English ability of Pratomsuksa 6 students by using concept map. (in Thai). (Master’s thesis). Retrieved from http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Wattanakarn.Kae.pdf
Zhu, Y. (2011). A Little Horse Crosses the River. Beijing, China: Foreign Language Teaching and Research Press.