อิทธิพลของสีวรรณะร้อนและวรรณะเย็นสำหรับ การออกแบบโปสเตอร์บทความวิชาการ

Main Article Content

ชลลดา ม่วงธนัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาอิทธิพลของสีวรรณะร้อนและวรรณะเย็นสำหรับการออกแบบโปสเตอร์บทความวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของสีที่มีผลต่อความสามารถในการจดจำสำหรับโปสเตอร์บทความวิชาการ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเลือกใช้สีในการออกแบบสำหรับโปสเตอร์บทความวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ โดยใช้แบบทดสอบในลักษณะข้อความและภาพที่มีการจำแนกตามวรรณะสี ได้แก่
สีวรรณะร้อนจำนวน 3 สี คือ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีวรรณะเย็นจำนวน 3 สี คือ สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง ซึ่งมีสีที่เป็นทั้งสีวรรณะร้อนและสีวรรณะเย็นจำนวน 2 สี คือ สีม่วง และสีเหลือง แบ่งเป็นแบบทดสอบแบบไม่ระบุตำแหน่งและแบบระบุตำแหน่ง ผลการทดสอบจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน พบว่า สีน้ำเงิน มีผลต่อความสามารถในการจดจำข้อความและภาพ ทั้งในรูปแบบที่
ไม่ระบุตำแหน่งและระบุตำแหน่ง และจากการประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 5 หัวข้อ พบว่า หัวข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ สีตัวอักษรมีความเหมาะสม และภาพประกอบมีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80 ซึ่งผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ว่า ข้อความ ภาพ และตำแหน่งการนำเสนอโดยใช้สีวรรณะเย็นมีอิทธิพลต่อการจดจำมากกว่าการใช้สีวรรณะร้อน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย