ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

Main Article Content

ณัฐภรณ์ ศิริธร
มณีญา สุราช
นครชัย ชาญอุไร

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและสร้างสมการพยากรณ์ต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2  ปีการศึกษา  2562 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ระดับประสิทธิภาพการสอน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยพบว่า ประสิทธิภาพการสอนของครูด้านการกำหนดเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเปลี่ยนแปลงเจตคติของนักเรียน และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดและการประเมินผล
    1. ตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (X1) มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (r = 0.464) รองลงมาคือ การใช้สื่อการเรียนรู้ (X2) มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (r = 0.375) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (X3) มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (r = 0. 351) และ บุคลิกภาพของครู (X6) มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (r = 0.287) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่ำสุด คือ ภาระงานของครู (X7) มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (r = 0.159)

    2. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบุคลิกภาพของครู โดยมีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 34 (R2=0.34) สมการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


                    = 1.398 + .250X1 + .109X2 + .092X3 + .081X4 + .107X6


    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


                        Z = .342ZX1+ .175ZX2 + .133ZX+ .130ZX4 + .119ZX6



Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย