การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กรรณิการ์ ขันตี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน จากการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ผลการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ

  2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68 มีประสิทธิภาพที่ 86.80/86.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.75

  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.38

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย