แนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัย ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

เขมิกา เกลี้ยงไธสง
กฤตติกา แสนโภชน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 2) กำหนดแนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และ 3) ประเมินแนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1  ศึกษาต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดภัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปลูกและผู้ขายผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดภัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ลักษณะมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ระยะที่ 2 กำหนดแนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้ เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หน่วยงานเกี่ยวข้องและผู้ปลูกและขายผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การลดต้นทุนการปลูกต้นหอมของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ลำดับที่ 1 ) ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบ 2) ค่าแรงงานทางตรง และ 3) ค่าใช้จ่ายการผลิต

  2. แนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 3 ด้าน จำนวน 21 กิจกรรม ได้แก่ 1) ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบทางตรง มีจำนวน 6 กิจกรรม 2) ค่าแรงงานทางตรง จำนวน 7 กิจกรรม และ 3) ค่าใช้จ่ายการปลูก จำนวน 8 กิจกรรม

  3. ผลประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ไปเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป พบว่า ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกด้าน จึงถือว่าแนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีความเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย