ภูมิศาสตร์กับการระบาดของโควิด 19 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

วิชญ์ จอมวิญญาณ์
ศริยา อินทสิน
ลภัสรดา อู่เจริญ

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 นับจากนั้นเป็นต้นมาทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับการเข้ามาของโรคระบาดและต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์นี้ ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยมหาวิทยาราชภัฏอุดรธานีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้อย่างมาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มสังคมขนาดใหญ่ประเภทหนึ่งที่มีการเข้ามารวมกันของคนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนักศึกษาส่งผลต่อ การเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคนขนาดใหญ่เหล่านี้ จึงเป็นที่มาของพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคได้ ประกอบกับพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่ส่งผลให้การเกิดเป็นกลุ่มเสี่ยงนั้นมีอัตราที่สูงมากยิ่งขึ้น จากกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยจำนวน 90 รายให้ข้อมูลความเสี่ยงของสถานที่และผลกระทบที่เกิดขึ้น ในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่ารูปแบบของการจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคคลในสังคมลดลงเพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัส ซึ่งเป็นการยุติการแพร่การระบาดของโรคที่ดีที่สุด แต่ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนลดน้อยลงตามไปด้วย นอกจากผลกระทบทางด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังมีผลกระทบทางด้านสภาพจิตใจและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของประชากรในสถานศึกษาที่มีแนวโน้มต่อความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคซึมเศร้า ขาดการเข้าสังคมหรือการรวมกลุ่มพี่น้องหรือกลุ่มเพื่อนเป็นผลอีกประการที่เกิดขึ้น ความสำคัญของภูมิศาสตร์ในงานนี้ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบของความเสี่ยงเชิงพื้นที่ของการเกิดโรคของสถานที่เสี่ยงรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบของแผนที่ อันจะทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ที่ใช้เพื่อการสร้างความเข้าใจและนำไปใช้เพื่อการวางแผนจัดการต่อไป ส่วนอนาคตของสถานการณ์โรคระบาดยังต้องมีการเฝ้าระวังเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการอุบัติซ้ำของโรค อีกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการของสถานที่ในการป้องกันร่วมกับวิถีปฏิบัติตนเองของกลุ่มประชากรว่ามีการดูแลป้องกันตนเองอย่างไร


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ