ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เสริมด้วยใบงานมีชีวิต (LIVEWORKSHEETS) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เสริมด้วยใบงานมีชีวิต (LIVEWORKSHEETS) กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ70 ใช้แบบแผนการวิจัย Randomized Control-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 77 คน เลือกโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เสริมด้วยใบงานมีชีวิต 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.44 ถึง 0.72 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.44 ถึง 0.61 และ 4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.73 ถึง 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.37 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (One-way MANCOVA) และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (One-sample t-test) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เสริมด้วยใบงานมีชีวิต (LIVEWORKSHEETS) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีผลคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มและเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เสริมด้วยใบงานมีชีวิต (LIVEWORKSHEETS) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติและสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสารการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design-Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19.
คุรุสภาวิทยาจารย์:วารสารเพื่อการพัฒนา วิชาชีพครู, 1(2), 1-10.
ธันยพัฒน์ พันธุ์พำนัก. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะ
เป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นริศรา สำราญวงษ์. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนิดา ดีหลี. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง
ลำดับและอนุกรมโดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 68-80.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCSE ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ผลการสอบ o–net ปีการศึกษา 2561 – 2563.
http://www.niets.or.th/index.php/news_events /view/225/1.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุวร กาญจนยูร. (2553). โครงงานคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Azzarah, M. (2020). The Differences between Using Quizizz Interactive Quiz And Liveworksheet in Math Problem Solving Ability. Journal
of Research and Education Studies:E-Saintika, 6(2), 321-328.
Pizzini, L., Shepardson, P., & Abell, K. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science
education. Science Education, 73(5), 523-534.
Schwenger, B. (2018). Creating blended learning experiences requires more than digital skills. อ้างถึงใน เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบ
การศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design-Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์:วารสารเพื่อการพัฒนา
วิชาชีพครู, 1(2), 1-10.
Wilson, J. W. (1971). Evaluation of learning in secondary school mathematics. New York: McGraw-Hill.