การวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในดานบริบท ปัจจัยนําเขา กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ผู้วิจัยใชรูปแบบการประเมินแบบ CIPPI กลุมตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย 11 คน บัณฑิต 9 คน และผู้ใช้บัณฑิต 8 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 38 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (%) คาเฉลี่ย () คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) ดานบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยูในระดับมาก (= 4.47, S.D. = 0.55) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยูในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = 0.55) (3) ดาน กระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.27, S.D. = 0.50) (4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.36, S.D. = 0.59) และ (5) ด้านผลกระทบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยูในระดับมาก (= 4.36, S.D. = 0.59)
Downloads
Article Details
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย, และชัยรัตน์ วงศ์จินดานนท์. (2558). พรีเซนต์ขั้นเทพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2559). อภิวัฒน์ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา: จากอนาลอกสู่ศตวรรษนวัตกรรมดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์, 44(4), 294-313.
ณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล. (2563). Education 2030-อนาคตการศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้า. https://www.disruptignite.com/blog/education2030
ธนภัทร มีนา, สุนทรา โตบัว, และวรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2561). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 24-36.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
ธีระพงษ์ จันทร์ยาง. (2560). การประเมินหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้รูปแบบซิปป์ กรณีศึกษา โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
[วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นคร ละลอกน้ำ. (2560). การประเมินหลักสูตรและความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต: กรณีศึกษาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตร
ต่อเนื่อง). วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(1), 119-131.
นลินทิพย์ พิมพ์กลัด, นงลักษณ์ ทองศรี, จันทิราพร ศิรินนท์, พิสมัย ประชานันท์, อัจฉรา หลาวทอง, จตุพร จันทารัมย์, และฤทัยภัทร ให้ศิริกุล. (2560). แนวทาง
การจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 92-102.
พสุ เดชะรินทร์. (2561). คนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้.https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645655
มหาวิทยาลัยรามคําแหง. (2564). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. https://www.ru.ac.th/th/aboutUs/page?view=Vision
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [วิทยานิพนธ์
ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การพัฒนาหลักสูตร: Curriculum Development [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ศรัญญา จุฬารี, และจันทร์ทิรา เจียรณัย. (2561). ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. Veridian E-Journal,
(1), 2,220-2,232.
ศุกร์ใจ เจริญสุข, จรัสศรี เพ็ชรคง, และพัทธวรรณ ชูเลิศ. (2559). ผลของการสอนที่เน้นการคิดอย่างเป็นระบบและจิตสำนึกสาธารณะในบริบทของวิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2), 61-71.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี, (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-
กรุงเทพมหานคร.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2560). เทรนด์การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล. https://www.okmd.or.th/okmd-
opportunity/FutureLearningPlatform/ 899/Digilearn_infographic
สุปัญญา ชาดง. (2561). การประเมินหลักสูตรจินตคณิต โดยใช้ CIPPIEST Model [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุรีย์ จินเรือง, วิภาศิริ นราพงษ์, และปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. (2561). การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์สาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี,
(2), 207-216.
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต และคณะ. (2550). รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินหลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชา
เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนงค์นาถ ทนันชัย. (2563). การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนําเสนอของนักศึกษาในรายวิชาการนําเสนอผลงานทางธุรกิจ. วารสาร
วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(1), 48-63.
อภินภัศ จิตรกร. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต
สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,
(2), 19-35.
เอกนฤน บางท่าไม้, นํ้ามนต์ เรืองฤทธิ์, อนิรุทธ์ สติมั่น, สมหญิง เจริญจิตรกรรม, และประทิน คล้ายนาค. (2560). การประเมินผลหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 101-111.