สื่อดิจิทัลแบบความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลแบบความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัล กับนักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาและสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินคุณภาพของสื่อดิจิทัล แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ (Torrance Test of Creative Thinking) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test Independent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลแบบความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ ของนักศึกษาตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ มีค่าเท่ากับ 1.19 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1.00 จึงกล่าวได้ว่าสื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ระหว่างสองกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัล กับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ เมื่อนำผลที่ได้มาหาค่าสถิติ (t-test Independent) ปรากฏว่า t ที่คำนวณได้เท่ากับ 8.23 แสดงว่า การเรียนการสอนโดยใช้สื่อดิจิทัลกับนักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีปกติมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อดิจิทัล ในระดับความพึงพอใจมาก
Downloads
Article Details
References
จันทร์จิรา จันทร์ปาน. (2553). การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการฝึกคิดนอกกรอบแบบเลี่ยงแนวคิดเดิม และ
สร้างแนวคิดใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ทศพล ศิลลา. (2554). ผลของการสอนแบบคิดนอกกรอบบนเว็บ ที่มีต่อการสร้างสรรค์งานกราฟิกสามมิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ วงค์นรา. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์ ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ สำหรับ
นักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2555). โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. http://www.rspg.or.th/information/index.htm
สนิท ตีเมืองซ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วยเสริมศักยภาพ ทางการเรียนผ่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ [ดุษฎีนิพนธ์
ปริญญาเอกที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สรัญญา เชื้อทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของ
นักศึกษาครู [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาวดี สอนชา. (2555). การพัฒนาบทเรียนบนเครือค่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ เรื่อง การเขียนโฆษนา ประชาสัมพันธ์ ใน
งานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
De Bono, E. (1980). “Po: Beyond Yes and No.”. Penquin Books. (N.P.).
H. McLellan. (2006). Virtual realities. McLellan Wyatt Digital.
Torrance, E.P. (1974). The Torrance Tests of Creative Thinking. Bensenville. IL: Scholastic Testing.