การออกแบบชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยใช้การพัฒนา ผลิตภัณฑ์เกษตร อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

วิราวรรณ พุทธมาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา แบบทดสอบทักษะการประกอบอาชีพ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และ สถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.25/82.73 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ คือ 80/80 ทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 4.77

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

น้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปี

ที่ 1. วารสาร เทคโนโลยีสุรนารี, 11(1), 61-74.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

พรพรรณ ไวทยางกูร. (2556). สะเต็มศึกษา: ก้าวสําคัญของการนําสะเต็มศึกษาไปใช้กับความหวัง ยกระดับคุณภาพศึกษาไทย. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.

http//www.daliynews.co.th/education.

ภัสรา เพ็งใย. (2562). กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,

มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

มาลัย ทองสิมา, วรรณวีร์ บุญคุ้ม, และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2562). การพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมความ พร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน

ปลายจังหวัดนครปฐมเพื่อรองรับ สังคมไทย 4.0. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 6(2), 19-48.

เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรม

วัฎจักรการเรียน 5E [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รักษ์ศิริ จิตอาร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้ STEM EDUCATION เพื่อเสริมสร้างการรู้

วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 202-213.

รัตนศรี พรหมใจรักษ์. (2560). การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ โดยใช้ กิจกรรมค่ายการงานอาชีพและเทคโนโลยี [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท

ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาขอนแก่น.

วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3),

-369.

สรเดช เลิศวัฒนาวณิช. (2560). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริม ทักษะอาชีพและคุณลักษณะในการประกอบอาชีพสำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา (ตอนที่ 2): การบูรณาการสะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน STEM Education (Part II): How to Integrate

STEM Education in Classroom Teaching. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(3). 154-160.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2560- 2579. กรุงเทพฯ: พริก หวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริก หวานกราฟฟิค.

Akkermans, J., Brenninkmeijer, V., Huibers, M., & Blonk, R. W. (2013). Competencies for the contemporary career: Development and

preliminary validation of the Career Competencies Questionnaire. Journal of Career Development, 40(3), 245-267.

https://doi.org/10.1177/0894845312467501.

Akkermans, J., Paradniké, K., Van der Heijden, B. I., & De Vos, A. (2018). The best of both worlds: the role of career adaptability and

career competencies in students’ well-being and performance. Frontiers in psychology, 9, 1-13.

https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.01678

Ali, A., & Marwan, H. (2019). Exploring Career Management Competencies in Work Based Learning (WBL) Implementation. Journal of

Technical Education and Training,11(1), 159–166.