การเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต และอธิบายเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม ต่อความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ธัญภัค สารีโท
หนูกร ปฐมพรรษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลง  ของสาร ก่อนเรียนและหลังเรียน และการเปลี่ยนความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีการใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต และอธิบายเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสาร ซึ่งเป็นข้อสอบแบบวินิจฉัย 2 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบทีไม่อิสระ (t-test for dependent samples) การทดสอบไควสแควร์แบบ McNemar  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสาร หลังเรียน  (x = 9.60 หรือคิดเป็นร้อยละ 64) สูงกว่าก่อนเรียน (x = 4.03 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.89) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีการเปลี่ยนความเข้าใจมโนทัศน์ที่ไม่สอดคล้องเป็นความเข้าใจมโนทัศน์ที่สอดคล้องกับมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสารมากขึ้นจากร้อยละ 35.33 เป็นร้อยละ 64.67 และนักเรียนร้อยละ 60.67 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์เปลี่ยนแปลงในเชิงบวก (+) กล่าวคือมีการเปลี่ยนความเข้าใจมโนทัศน์จากระดับต่ำไปเป็นระดับที่สูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพ วิชาการ (พว.).

ยุพาพร เลาสัตย์. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจกรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อความคิดรวบยอด เรื่องพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์

ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลำพูน สิงห์ขา. (2555). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันดี โตสุขศรี. (2559). การพยาบาลอายุรศาสตร์ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2556). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

. (2562). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

Ausubel, D. P. (1968). Educational psychology. New York: Holt Rinchart and Winsoton.

Costu, B., Ayas, A. & Niaz, M. (2012). Investigating the effectiveness of a POE-based teaching activity on students' understanding of

condensation. Instructional Science (Instr Sci), 40(1), 47–67.

Earl, J. M. (2022). Questioning techniques of teachers and speaking ability of students. International Journal of Research Studies in

Education, 11(5), 116-120.

Haysom, J. & Bowen, M. (2010). Predict-Observe- Explain Activities Enhancing Scientific Understanding. Texas: The National Science

Teachers Association.

Posner, G. j. et al. (1982). Accommcd of scientific conceptual Change. Scierce Edocation, 66(2), 211-227.

Swan, K. (2001). Virtual interaction: Design factors affecting student satisfaction of perceived learning in asynchronous online courses.

Distance Education, 22(2), 306-331.

White, R. T. & Gunstone, R. F. (1992). Probing Understanding. Great Britain: Falmer Press.