การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน

Main Article Content

มะลิวัล ผะสมพืช
หนูกร ปฐมพรรษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความเข้าใจโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบวินิจฉัย 2 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบทีไม่อิสระ (t-test for dependent samples) การทดสอบไคสแควร์แบบ McNemar ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ หลังเรียน ( x  = 13.36 หรือ 74.22%) สูงกว่าก่อนเรียน ( x = 5.21 หรือ 28.96%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศนที่ไม่สอดคล้องเป็นความเข้าใจมโมโนทัศน์ที่สอดคล้องกับมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์มากขึ้นจากร้อยละ 16.16 เป็นร้อยละ 83.84 และนักเรียนร้อยละ 95.45 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์เชิงบวก (+) กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์จากระดับต่ำไปเป็นระดับที่สูงขึ้น  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฑามาศ กันทะวงศ์. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานวิชาชีววิทยาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาตรี ฝ่ายคำตา, และภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, 29(3), 89-90.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาศวรรย์ สมไพบูรณ์. (2562). การศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูป

แบบแบบจำลองเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นวลจิตต์ เชาวกีรพงศ์. (2537). ความคิดรวบยอดกับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สารศึกษาการพิมพ์.

บุษกร ปทุมไกยะ. (2544). การศึกษาแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา : พืชหรือสัตว์การจัดจำแนกพืชและการจัดจำแนกสัตว์ของนักเรียนชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนอนุบาลนครพนมและสกลนคร [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรียานุช ช่องวารินทร์. (2565). การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงจันทร์และระบบสุริยะและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วย

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพเราะ ทิพยทัศน์. (2533). วิทยาศาสตร์ประทับใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัชนก กันชม. (2563). การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7

ขั้นร่วมกับกลวิธีการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery Walk) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

(1), 186-197.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ.

สมเจตน์ อุระศิลป์. (2554). การเปรียบเทียบมโนมติก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมีตามโมเดล การเรียนรู้ T5 แบบกระดาษ. วารสารวิจัย มข, 1(1), 38-

Buckley, B. C., & Boulter, C. J. (2000). Investigating the role of representations and expressed models in building mental models. In J.

K., Gilbert & C. J., Boulter., (Eds.), Developing Models in Science Education (pp. 120-135). Netherlands: Kluwer Academic

Publishers.

Costu, B., Ayas, A., & Niaz, M. (2012). Investigating the effectiveness of a POE-based teaching activity on students’ understanding of

condensation. Instruction Science, 40(3), 47-67.

Dogan, D., & Demirci, O. (2011). High school chemistry students’ and prospective chemistry teachers’ misconceptions about ionic

bonding. Inonu University . Journal of the Faculty of Education, 12(1), 67-84.

Gobert. J. D., & Buckley. B. C. (2002). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of

Science Education, 22(9), 891-894.

Khan, S. (2008). Model-based teaching as a source of insight for the design of a viable science simulation. Technology Instruction

Cognition and Learning, 7(6), 63-78.

Tweed, A. (2009). Designing effective science instruction: What works in science classrooms. Arlington, VA: National Science Teachers

Association.

Westbrook, S. L., & Marek , E. A. (1991). A cross-age study of student understanding of the concept of diffusion. Journal of Research

in Science Teaching, 28(8), 649-660.