ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขต อุดรธานี

Main Article Content

เอกราช เข็มทอง
ทิพวรรณา งามศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน 2) ศึกษาความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 3) ศึกษาผลลัพธ์ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผล กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร กับผลลัพธ์ของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม จากการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมันอยู่ที่ 0.823 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขต อุดรธานี จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาโดยความสมัครใจของผู้ตอบแบบสอบถามโดยวิธี Convenient or Volunteer sampling สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.09 อยู่ในระดับที่เห็นด้วย 2) ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.03 อยู่ในระดับที่เห็นด้วย 3) ผลลัพธ์ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.10 อยู่ในระดับที่เห็นด้วย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผล กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ได้ค่า Pearson correlation อยู่ระหว่าง 0.165 – 0.258 แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ปัจจัยที่ส่งผล และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร กับผลลัพธ์ของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ได้ค่า Pearson correlation อยู่ระหว่าง 0.213 – 0.264 258 แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ปัจจัยที่ส่งผล และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกันเช่นเดียวกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สามลดา.

ณัฐกฤตา นาแซง, และทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2565). แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสังกัด อำเภอบ้านไผ่

จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยวัฒน์ โพธิ์ร้อย, และทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2563). แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันในงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือตอนบน. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เอกราช เข็มทอง. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลและผลลัพท์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สำนักงานเขต อุดรธานี

[วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bakker, A.B., & Demerouti, E. (2008). Towards a model of work engagement. The Career Development International, 13(1), 209-223.

Kumar, V. & Pansari, Anita. (2015). Measuring the Benefits of Employee Engagement.

MIT Sloan Management Review, 56(4), 67-72.

Marcey, W.H.& Schneider, B., (2008). The meaning of employee engagement. Industrial and Organizational Psychology, 1(1), 3-30.

Saks, A.M. (2006). Antecedents and Consequences of Employee Engagement. Journal of Managerial Psychology, 21(7), 600-619.

Schaufeli, W.B. (2013). What is engagement? Employee Engagement in Theory and

Practice. London: Routledge.

_____________, Salanova, M., Gonzalez-Roma, V., & Bakker, A.B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two sample

confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness Studies, 3(1), 71-92.