การจัดการองค์ความรู้เพื่อการสืบสานศิลปะการแทงหยวก ในพื้นที่แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ
กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ และ (2) นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนที่ถูกจัดระบบแล้ว มาประยุกต์เป็นกิจกรรมเพื่อเผยแพร่และสืบสานสู่ชุมชนท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกปราชญ์ท้องถิ่นจำนวน 1 คน เพื่อสกัดองค์ความรู้ออกจากตัวบุคคล และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ความรู้และทักษะศิลปะการแทงหยวกแก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจการนำไปใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์ใช้แนวคิดแบบจำลองการจัดการองค์ความรู้เซกิ (SECI) ผลการวิจัยพบว่า มีการจัดการองค์ความรู้ศิลปะการแทงหยวกโดยเริ่มต้นจากการสกัด “ความรู้ที่ฝังลึก” สู่ “ความรู้ที่ชัดแจ้ง” ให้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ แผ่นพับ ป้ายนิทรรศการ และคู่มือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จากนั้นจึงมีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อผนึกความรู้กลับเข้าสู่ตัวบุคคลอีกครั้ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 66 คน ผู้ผ่านการประเมินทักษะฝึกปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 87.88 และมีผลการประเมินความพึงพอใจการนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (4.27) โดยแนวทางสำคัญในการนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ได้แก่ การนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์, จุรีรัตน์ ทวยสม, ระพีพรรณ จันทรสา, ณัฏฐานุช เมฆรา, และชุติพงศ์ คงสันเทียะ. (2566). เฮือนไทยพวน : อนุรักษ์เพื่อการสร้างสรรค์บน

ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 4(1), 25 - 44.

เกศรี วิวัฒนปฐพี, โสภา ชัยพัฒน์, บงกช เจนชัยภูมิ, มาลินี ผลประเสริฐ, และเดือนฉาย ผ่องใส. (2565). อัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคม : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตไท

พวนในภาคอีสาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 62 - 77.

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ, และกนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์. (2566). ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกกล้วยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.

วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 12(2), 68-82. http://doi.org/10.14456/ajc.2023.12

ชูศักดิ์ ไทพาณิชย์. (2555). ศิลปะการแทงหยวก. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.

พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ, พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร, พระครูปฐมธีรวัฒน์ (บัญชา ฐิตธมฺโม), และพระปลัดสมชาย ดำเนิน. (2565). การอนุรักษ์และสืบสาน

ประเพณีวันอัฏฐมีบูชา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), 214-227.

พฤกษา ดอกกุหลาบ. (2562). การจัดการความรู้เพื่อสืบสานศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏธนบุรี, 2(2), 38-53.

ไพบูลย์ วิริยะพัฒนไพบูลย์. (2553). ประวัติศาสตร์พวนมาจากไหน. นนทบุรี : เลิศชัยการพิมพ์2.

วรรณีศา สีฟ้า, และปิยากร หวังมหาพร. (2564). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องศิลปะของการแทงหยวกกล้วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ

ศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(2), 208-225.

ส่งเสริมวัฒนธรรม, กรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรศิริ ปาณินท์. (2554). การเปลี่ยนถ่ายสัมภาระทางวัฒนธรรมของชาวพวน: จากเชียงขวางสู่ลุ่มน้ำภาคกลางของไทย. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

และสถาปัตยกรรมไทย, 7, 133 - 164.

อวยพร พานิช. (2560). การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดศิลปะการแทงหยวก. นิเทศยามปริทัศน์, 16(20), 7-22.

Nonaka, I. and Nishigushi, T. (2001). Knowledge Emergence: Social, Technical, and Evolutionary Dimensions of Knowledge Creation.

New York: Oxford University Press.