การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลัง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 34 คน ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสมนึกพิทยา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการ เรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยขอสรุปผลการศึกษาดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การอ่านจับ ใจความ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดกับให้มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ87.53 ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 90.29 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้ง 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนทั้งหมด 34 ค่าเฉลี่ย 116.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.61 มีความสามารถในการอ่านจับใจความผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
Downloads
Article Details
References
กฤติยา ปลงสนิท. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์
ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
กระทวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
(ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ฐานิชา ปวงสุข. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตาม
มาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบ
เพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
รัตนะ บุตรสุรินทร์. (2557). การควบคุมเพื่อพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรียนรู้ด้วย
คอมพิวเตอร์ในการควบคุมเทคนิคเพื่อนคู่คิด [วิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริพร ลี้รชตาสุวรรณ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยวิธีอ่านแบบโอเคไฟว์อาร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนสันกำแพง [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สายชล โชติธนากิจ (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้วิธีการ
สอบอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
[วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมาลี ชูบุญ. (2560). ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่าน
จับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.