การพัฒนาการรู้คิดตามแนวพระพุทธศาสนาของเยาชนในสังคมไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การรู้คิด, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการรู้คิดตามหลักพระพุทธศาสนา 2) เพื่อพัฒนาการรู้คิดแนวใหม่ของเยาวชนในสังคมไทย 3) เพื่อสร้างเครือข่ายการรู้คิดของเยาวชนในสังคมไทย เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้เป็นเยาวชนในสังคมไทยใน 4 ภาค แบ่งเป็นภาคละ 50 คน รวมทั้งหมด จำนวน 200 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.50 มีอายุอยู่ในช่วง 16 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาการรู้คิดตามแนวพระพุทธศาสนา ของเยาวชนในสังคมไทยทั้ง 4 ภาค โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.96 ด้านที่มีการพัฒนาการรู้คิดตามแนวพระพุทธศาสนาของเยาวชนในสังคมไทยทั้ง 4 ภาค มากสูงสุด คือ ด้านหลักพุทธธรรม ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.02 รองลงมาได้แก่ ด้านปัจจัยจิตวิทยา ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการรู้คิด ตามแนวพระพุทธศาสนาของเยาวชนในสังคมไทยตามหลักพุทธธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสูงสุด คือ ด้านอุปปาทกมนสิการ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.07 รองลงมา ได้แก่ ด้านการณมนสิการ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.05 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปถมนสิการ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.96 รองลงมา ได้แก่ ด้านอุปายมนสิการ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.01 อย่างไรก็ตาม ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้การพัฒนาการรู้คิดตามแนวพระพุทธศาสนา ของเยาวชนในสังคมไทยตามหลักพุทธธรรมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
References
กิตติ กันภัย. (2557). นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัญจน์ณิชา อิ่มสมบัติ และอภิชาติ เลนะนันท์. (2019). การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 64-76.
กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2560). การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. เวชสารแพทย์ทหารบก, 70(3), 169-174.
บรรจง อมรชีวิน. (2559). พุทธวิธีคิดวิเคราะห์ด้วยโยนโสมนสิการ การคิดเพื่อนำไปสู่ปัญญาวิมุตติ. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
ปรียา โคตรสาลี. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: ปัญญา. ประดิษฐาน.
พระมหาพรชัย ฉนฺทธมฺโม และพระมหานิมิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). สัมมาทิฏฐิกับการแก้ปัญหาของสังคมในปัจจุบัน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(3), 217-226.
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2561). การคิดเชิงบวก: ตัวแปรในการพัฒนาชีวิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 1958-1978.
พัชรี นาคผง. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการ เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรวดี นามทองดี. (2555). การคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (5)2, 120-142.
ลักขณา สริวัฒน์. (2558). การรู้คิด (Cognition). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
ศรัญญา จุฬารี. (2561). ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, (3)2, 105-122.
สราวุธ พัชรชมพู. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิด เชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้, มหาวิทยาลัย: ราชภัฏนครสวรรค์.
อรพรรณ์ แก้วกันหา จุฑามาส ศรีจานงค์ และจุรีรัตน์ ประวาลลัญฉกร. (2560). การวิจัยปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านน้ำคิว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (19)2, 289-304.
Eric Barendt. (2007). Freedom of Speech. Oxford University Press: Oxford Scholarship.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ