รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์, ภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 2) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 และ 3) สังเคราะห์หารูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
ผลการวิการวิจัยพบว่า
1. การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี คือ การปกครอง การเผยแผ่ การศึกษา การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ การสาธารณสงเคราะห์ และการสร้างพุทธมณฑลเพชรบุรี ทุกด้านขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารกิจการคณะสงฆ์ ตามลำดับชั้น
2. ปัจจัยทางการบริหารคณะสงฆ์เพชรบุรี ดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติงานที่มีระบบชัดเจน ควรสร้างทรัพยากรบุคคลด้านทัศนคติ ด้านการแสดงออก ด้านการปฏิบัติตนต่อสังคมแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงรูปธรรม มีอำนาจตัดสินใจร่วมกัน รับผิดชอบการพัฒนาพื้นที่ชุมชุม แต่การปกครองคณะสงฆ์ไม่มีบทลงโทษขั้นร้ายแรงหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจึงทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
3. รูปแบบการบริหารคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ควรแสดงบทบาทเชิงรุกต่อสังคม “เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับ เป็นผู้ให้” พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญของบุคลากร ได้แก่ การปกครอง ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายและพระธรรมวินัย การการเผยแผ่ ต้องทำงานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การศึกษา ต้องพัฒนาทักษะการประเมินผล การสาธารณูปการ ต้องสำรวจการก่อสร้างและซ่อมบำรุงตามขั้นตอน การศึกษาสงเคราะห์ ต้องส่งเสริมกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือ การสาธารณสงเคราะห์ ต้องบูรณาการบทบาทพระสงฆ์ต่อสังคม และการสร้างพุทธมณฑล ต้องขับเคลื่อนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
References
คณะสงฆ์จังหวดเพชรบุรี. (ม.ป.ป). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ.2561 – 2564). เพชรบุรี: สำนักงานคณะสงฆ์จังหวดเพชรบุรี.
เฉลิมพล โสมอินทร์. (2546). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สูตรไพศาล.
ณัฐฐาพร จินดาสวัสดิ์. (2558). การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทย กรณีศึกษา: มหาเถรสมาคม. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการสาธารณะ) สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร. คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2558). ระบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยในทศวรรษหน้า. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระณรงค์ สังขวิจิตร. (2558). การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วิทยานิพนธ์หศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา ภาควิชาปรัชญา. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล). (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระราชวรเมธี. และคณะ. (ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตรการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. ม.ป.พ.
ไพโรจน์ ดวงศรี. (2558). รูปแบบโครงสร้างองค์การและบทบาทการบริหารงานของพระสังฆาธิการที่มีผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ