แนวทางการดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้าน ของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ สนพะเนาว์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • สิรภพ สวนดง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวทางการดำเนินงาน, พันธกิจ, คณะสงฆ์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้าน ของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้านของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา และ3) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้านของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา โดยได้ลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ และจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 86 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลในการวิเคราะห์และสังเคราะห์

         ผลการวิจัยพบว่า

         การดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้านของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ (1) ด้านการปกครอง มีการประชุมทุกระดับเพื่อความเรียบร้อยแห่งหมู่สงฆ์ (2) ด้านการศาสนศึกษา มีส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ (3) ด้านการเผยแผ่ มีกิจกรรมตรวจเยี่ยมลงพื้นที่เพื่อแสดงธรรมให้ความรู้กับชุมชน (4) ด้านการสาธารณูปการ มีการปรับปรุง ซ่อมแซม ช่วยเหลือวัด บ้าน โรงเรียนที่ประสบความลำบาก (5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ มีการสนับสนุนส่งเสริมด้านทุน อุปกรณ์การเรียน ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ และ (6) ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ มีโครงการกิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อสงเคราะห์พระสงฆ์และคฤหัสถ์

          สภาพปัญหาการดำเนินงานของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา ในการพัฒนาสังคมสงเคราะห์ทั้ง 6 ด้าน คือ (1) ด้านการปกครอง พระสงฆ์ไม่เข้าร่วมการประชุม และไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุม (2) ด้านการศาสนศึกษา พระสงฆ์สามเณรไม่เข้ารับการศึกษา และบวชมาแล้วอยู่ไม่ได้นาน (3) ด้านการเผยแผ่  บางชุมชนไม่ให้ความร่วมมือและมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อย (4) ด้านการงานสาธารณูปการ ปัญหาของระบบในการบริหารจัดการศาสนสถาน/ศาสนวัตถุที่ต้องใช้งบประมาณมาก (5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ขาดเงินทุน และอุปกรณ์ทางการศึกษา และ(6) ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ ไม่ให้ความร่วมมือ ขาดการเอาใจใส่ ไม่ตั้งใจและไม่นำไปปฏิบัติ

          แนวทางการดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้านของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา มี 6 รูปแบบ คือ (1) ด้านการปกครอง ควรยึดหลักอปริหานิยธรรม พระธรรมวินัย สังฆสามัคคี และความเคารพ (2) ด้านการศาสนศึกษา ควรยึดหลัก หลักพละ 5 การศึกษาเรียนรู้ การมีความกตัญญู และการรักษาพระสัทธรรม (3) ด้านการเผยแผ่ ควรยึดหลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การส่งเสริมงานพระธรรมทูต และการสร้างความมีศรัทธา (4) ด้านการสาธารณูปการ ควรยึดหลักสัปปุริสธรรม 7 การพัฒนาการบริหารจัดการ แนวทางการส่งเสริมปรับปรุง ซ่อมแซม (5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ควรยึดสาราณิยธรรม 6 การจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมด้านผู้เรียน และด้านการสร้างความสัมพันธ์ และ (6) ด้านสาธารณะสงเคราะห์ ควรยึดหลักไตรสิกขา ด้านการมีศีลธรรม ด้านคุณภาพชีวิต และด้านสุขภาวะที่ดีงาม

References

กรมการศาสนา.(2538). คู่มือการบริหารศึกษาคณะสงฆ์.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา.

กวี วงศ์พุฒ. (2539). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2554). สมการความว่าง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2544). ทฤษฏีองค์กรประสิทธิภาพ รวมบทความสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระครูโอภาสธรรมพิทักษ์ (เสียม เตชธมฺโม/เงางาม). (2554). ศึกษาหลักและวิธีการเผยแผ่ธรรมของพระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์ นักพัฒนาในภาคอีสาน. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรภพ สวนดง. (2563). ความเชื่อพระพุทธศาสนาในปราสาทหินพิมาย. รายงานการสืบเนื่องประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1. มจร วิทยาเขตสุรินทร์.

เกรียงไกร พินยารักษ์. (3 พฤษภาคม 2563). อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา. สัมภาษณ์.

ธวัศชา เดชสุภา. (18 กุมภาพันธ์ 2563). อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยชินวัตร. สัมภาษณ์.

น.ท.จวน ทรงภูมิ. (11 พฤษภาคม 2563). ผู้จัดการโรงเรียนอนุบาลวัดสะแกและไวยาวัจกรวัดสะแก. สัมภาษณ์.

พ.ท.แดนชัย แก้วสา. (3 พฤษภาคม 2563). 6 หัวหน้าแผนกกรรมวิธีข้อมูล กองทัพน้อยที่ 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. สัมภาษณ์.

พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ อภิปุญฺโญ. (10 กุมภาพันธ์ 2563). รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาและเจ้าอาวาสวัดด่านใน. สัมภาษณ์.

พระครูศีลวราภรณ์ ฐิติสีโล. (13 กุมภาพันธ์ 2563). เจ้าอาวาสวัดโนนเมืองและผู้อำนวยการ

โรงเรียนมัธยมพุทธเกษตร. สัมภาษณ์.

พระครูอุดมเขมคุณ ฐานุตฺตโร. (23 กุมภาพันธ์ 2563). เจ้าคณะอำเภอพระทองคำและเจ้าอาวาสวัดพังเทียม. สัมภาษณ์.

พระเทพสีมาภรณ์ กนฺตจารี. (1 กุมภาพันธ์ 2563). เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาและเจ้าอาวาสวัดบึง (พระอารามหลวง). สัมภาษณ์.

พระภาวนาพัฒนานุสิฐ สมโย (สมัย). (1 พฤษภาคม. 2563). ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 และเจ้าอาวาสวัดคลองตาลอง. สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

สนพะเนาว์ ส. ., สวนดง ส. ., & รกฺขิตธมฺโม พ. . (2021). แนวทางการดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้าน ของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 31–45. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/246830